การวิจัยแบบผสานวิธี รูปแบบองค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะ การบริหารจัดการของหัวหน้า กศน.ตำบล 109-117

Authors

  • ธนวัฒน์ คงเมือง

Abstract

การวิจัยแบบผสานวิธี  เป็นการนำเทคนิควิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเทคนิควิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาผสมผสานกันในการทำวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จุดประสงค์เพื่อให้งานวิจัยชิ้นนั้นสามารถตอบคำถามการวิจัยได้สมบูรณ์มากกว่าการใช้เทคนิควิธีวิจัยเชิงปริมาณหรือเทคนิควิธีการวิจัยเชิงคุณภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ภายใต้ความเชื่อที่ว่าสามารถลดข้อจำกัดของวิธีการวิจัยในแต่ละวิธี โดยใช้จุดเด่นของการวิจัยเชิงปริมาณมาแก้ไขจุดด้อยของการวิจัยเชิงคุณภาพ ขณะเดียวกันอาจใช้จุดเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้แก้ไขจุดด้อยของการวิจัยเชิงปริมาณ สามารถเติมเต็มซึ่งกันและกันเพื่อให้เข้าถึงประเด็นปัญหาของการวิจัยได้ด้วยมุมมองใหม่ๆ เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามการวิจัยได้สมบูรณ์ขึ้นกว่าในอดีต โดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากการหลอมรวมปรัชญาของกลุ่มปฏิฐานนิยม และกลุ่มปรากฏการณ์นิยมเข้าด้วยกัน อาจเรียกว่าเป็นแนวคิดของกลุ่มปฏิบัตินิยม (pragmatist) ซึ่งมีความเชื่อว่าการยอมรับธรรมชาติของความจริงที่มีทั้งสองแบบตามแนวคิดของนักปรัชญาทั้งสองกลุ่ม

ดังนั้นประเด็นการโต้แย้งทางวิชาการที่ว่าวิธีการเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพวิธีการใดมีความถูกต้องเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงมากกว่ากัน ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะโต้แย้งถกเถียง หรือทำสงครามทางความคิดอีกต่อไป นักวิธีการวิจัยควรพึงระวังและระลึกไว้เสมอว่า การยึดติดอยู่กับกระบวนทัศน์หรือวิธีการสำหรับใช้ในการแสวงหาความรู้ความจริงแบบใดแบบหนึ่งมากเกินไปอาจทำให้นักวิจัยพลาดโอกาสดีๆ
ในการทำความเข้าใจและเลือกวิธีอื่นๆ ที่อาจมีความเหมาะสมกับบริบทการสืบค้นมากกว่า หรืออาจมีส่วนส่งเสริมวิธีการที่ตนเองใช้อยู่ให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น นอกจากนี้การที่นักวิจัยยึดติดอยู่กับวิธีการแสวงหาความรู้ความจริงแบบใดแบบหนึ่งมากเกินไป เป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งที่คอยจำกัดความคิด มุมมอง ตลอดจนจินตนาการเชิงสร้างสรรค์ของนักวิจัยให้วนเวียนอยู่กับกรอบแนวคิดและแบบแผนปฏิบัติเดิมๆ ไม่สามารถเข้าถึงประเด็นปัญหาของการวิจัยได้ด้วยมุมมองใหม่ๆ

 

References

คนึงนิจ อนุโรจน์ .ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กองทัพอากาศ.
ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน และอัมพร ม้าคะนอง. การฝึกอบรมจิตลักษณะและทักษะแบบบูรณาการที่มี
ต่อพฤติกรรมการพัฒนานักเรียนของครูคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.
โครงการวิจัยแม่บท : การวิจัยและพัฒนาพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2552.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตราภรณ์. การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ,
2549.
ภาวนา เผ่าน้อย และคณะ. การวิจัยเพื่อศึกษาตัวแบบของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและ
ชุมชนที่มีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2548.
วิโรจน์ สารรัตนะ. วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการวิจัยทางการบริหาร
การศึกษา. ขอนแก่น : อักษราพิพัฒน์, 2545.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และ กรรณิการ์ สุขเกษม. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ : การวิจัยปัญหา
ปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพฯ : สามลดา, 2547.
อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ:หลักสูตรคหกรรมศาสตร์ระดับอุดมศึกษาที่มุ่งหวัง. ฃ วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548.
อาดัม นีละไพจิตร. การศึกษาและพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับครูโรงเรียนเอกชน
สอนศาสนาอิสลาม. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2553.
Caracelli, V. J., & Greene, J. C. Data analysis strategies for mixed-method evaluation
designs. Educational Evaluation and Policy Analysis, 15(2), 195-207. 1993.
Creswell, J. W. Research design : Qualitative, quantitative, and mixed methods
approaches. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage, 2003.
Creswell, John W. and Vicki L. Plano Clark, Designing and Conducting Mixed
Methods Research. Thousand Oaks. : Sage Publications, 2007.
Creswell, John W. and Vicki L. Plano Clark,, M. Gutmann. & W. Hanson. Advanced
Mixed Mixed methods research designs. Thousand Oaks. : Sage Publications, 2003.
Greene. J. C. and Caracelli, V. J. & Graham, W.F. Toward a conceptual framework for mixed-Method evaluation design. Educational Evaluation and policy analysis, 11(3), 255-274. 1989.
Greene. J. C. and Caracelli, V. J. “Crafting Mixed-Method Evaluation Design” in New
Directions for Evaluation Num.74 Summer. Jossey-Bass Publishers. 19-32. 1997.
Johnson, R. B., & Onweugbuzie, A., J. Mixed methods research: a research paradigm whose time has come. Educational Researcher, 33(7), 14-26. 2004.
Lani, James. confirmatory-factor-analysis. (Online) 2010 (cited 27 June 2010) from: http://www.statisticssolutions.com/resources/directory-of-statistical-analyses/confirmatory-factor-analysis
Tashakkori, A. and Teddlie, C. Handbook of Mixed Methods in Social and Behavioral Research. California. Sage Publications, Inc., 2003.
Teddlie. C., & Tashakkori, A. Major issues and controversies in the use of mixed methods in the social and behavioral sciences. Thousand Oaks, CA : Sage, 2003.

Downloads

Published

2021-08-27

How to Cite

คงเมือง ธ. (2021). การวิจัยแบบผสานวิธี รูปแบบองค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะ การบริหารจัดการของหัวหน้า กศน.ตำบล 109-117. Ubon Ratchathani Journal of Research and Evaluation, 1(1), 109–117. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/250799