การวิจัยและพัฒนา : องค์ความรู้และการประยุกต์ใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ของสถาบันอุดมศึกษา 118-123

Authors

  • เยาวรักษ์ ทองพุ่ม

Abstract

ประมาณปี ค.ศ. 1960 มีนักวิจัยบางประเทศในแถบทวีปยุโรป และอเมริกา ได้ริเริ่มใช้เทคนิคการวิจัยรูปแบบใหม่ขึ้น โดยผสมผสานกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยการทำวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงทดลอง เข้ากับกระบวนการพัฒนา และเรียกเทคนิคการวิจัยประเภทนี้ว่า “การวิจัยและพัฒนา” ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Research and Development” หรือเรียกว่า “R & D” (รัตนะ  บัวสนธ์ 2552 : 1) และในประเทศไทย การวิจัย และพัฒนาได้เริ่มต้นขึ้นประมาณช่วงต้นปี ค.ศ.1970–1980 (พ.ศ.2513–2523) หลังจากได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2502 และปี พ.ศ.2507 รวมทั้งการจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงานขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2522 ซึ่งในปัจจุบันนี้การวิจัยและพัฒนา มีความสำคัญอย่างมากต่อความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม จากระบบที่มีฐานทางเกษตรมาสู่ระบบที่มีฐานทางอุตสาหกรรมที่ค่อยๆ เกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525– 2529) ได้มีส่วนส่งเสริมให้การวิจัย และพัฒนาเข้ามามีบทบาทในฐานะเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้เพื่อนำไปประยุกต์เพื่อก่อให้เกิดการผลิตสิ่งใหม่ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้นสำหรับใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการผลิตและการบริการสูง ส่วนการวิจัยและพัฒนาด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญเช่นเดียวกันซึ่งนำมาช่วยเพิ่มพูนคลังความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาด้านการศึกษา การบริหาร การจัดการเรียนการสอน พัฒนาสื่อการเรียนการสอน อันเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านธุรกิจ อุตสาหกรรมที่พึ่งพาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ด้วยตระหนักในความสำคัญของการศึกษา ผู้เขียนในฐานะอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาไทยแห่งหนึ่ง จึงได้ติดตามความก้าวหน้าและพยายามมีส่วนร่วมในการปรับปรุง  ปรับเปลี่ยน หรือพัฒนาการศึกษา ทั้งนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้หลักการวิจัยและพัฒนาเข้ามาช่วยหาวิธีการ หรือรูปแบบที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับบทความนี้จึงขอนำเสนอองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา และการประยุกต์ใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ของสถาบันอุดมศึกษาไทย

References

ทิศนา แขมมณี และคณะ. คู่มือการจัดทำและดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้ง
โรงเรียน. สำนักงานโครงการ วพร. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และ สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยและพัฒนาเพื่อการปฏิรูปทั้งโรงเรียน. เอกสารเผยแพร่
ในโครงการ วพร. ลำดับที่ 02. หน่วยประสานงานชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
พิษณุ ฟองศรี. การประเมินทางการศึกษา : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เทียมฝ่าการพิมพ์,
2549.
รัตนะ บัวสนธ์. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ แอล.ที.เพรส, 2552.
องอาจ นัยพัฒน์. การออกแบบการวิจัย : วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

Downloads

Published

2021-08-27

How to Cite

ทองพุ่ม เ. (2021). การวิจัยและพัฒนา : องค์ความรู้และการประยุกต์ใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ของสถาบันอุดมศึกษา 118-123. Ubon Ratchathani Journal of Research and Evaluation, 1(1), 118–123. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/250800