การวิจัยแบบผสานวิธี : แนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล 124-132

Authors

  • นภดล คำเติม

Abstract

การเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของประเทศ เป็นกระแสสังคมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านบริการสุขภาพ ผู้ป่วยและประชาชนรับรู้สิทธิของตนเองมากขึ้นและมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพการให้บริการขององค์การ ทำให้สถานบริการด้านสุขภาพต้องพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน การจัดบริการและควบคุมคุณภาพบริการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ ถือเป็นภารกิจสำคัญของพยาบาลซึ่งเป็นบุคลากรกลุ่มใหญ่ในโรงพยาบาลทุกแห่ง พยาบาลต้องพัฒนาคุณภาพบริการให้สอดรับกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความซับซ้อนของโรคและปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคติดต่อหรือโรคอุบัติใหม่ที่ยังหาข้อสรุปทางการแพทย์ไม่ได้ แม้แต่โรคไม่ติดต่อก็นับวันจะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น อุบัติเหตุ อุบัติภัย จำนวน และความรุนแรงของการบาดเจ็บมักมีจำนวนมากและรุนแรงขึ้น เช่น บาดแผลไหม้ที่พบว่ามีมากและรุนแรงขึ้นตามจำนวนและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการใช้กระแสไฟฟ้า อุบัติเหตุบนท้องถนนเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้รถใช้ถนน สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่พยาบาลต้องนำมาขบคิดเพื่อหาแนวทางพัฒนาคุณภาพบริการให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ปรากฏการณ์หรือตัวแปรด้านสุขภาพที่พยาบาลเกี่ยวข้องอยู่นั้น ล้วนเป็นข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เพราะพยาบาลเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่ก่อนเกิดจนกระทั่งตาย การศึกษาปรากฏการณ์หรือตัวแปรให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ครอบคลุมความเป็นระบบของมนุษย์ สามารถนำผลการศึกษา
มาพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพได้นั้น พยาบาลจำเป็นต้องอาศัยระเบียบวิธีทางการวิจัยที่ตอบโจทย์ของตนเอง การวิจัยแบบผสานวิธีเป็นแนวคิดหนึ่งที่พยาบาลสามารถนำมาใช้เก็บรวบรวม วิเคราะห์ ผสมผสาน ตีความ สรุป และรายงานผลการศึกษา ประเด็นการนำเสนอบทความนี้ ไม่ได้ต้องการแสดงทัศนะว่าการวิจัยแบบผสานวิธีเป็นการผสมผสานในระดับใดของงานวิจัย เหมาะสมที่จะนำมาผสานกันหรือผสานกันไม่ได้ หรือจะเรียกชื่อว่าอะไรดี และประเด็นการโต้แย้งทางวิชาการไม่ใช่ประเด็นการนำเสนอบทความนี้ แต่ผู้นำเสนอมีเป้าหมายเพื่อเปิดกว้างด้านการคิด การมอง ตลอดจนจินตนาการเชิงสร้างสรรค์ของนักวิจัยที่เป็นพยาบาล ให้สามารถเข้าถึงประเด็นปัญหาการวิจัย

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลทางคลินิก. สารสภาการพยาบาล. ฉบับที่ 3. 2551.
จินนะรัตน์ ศรีภัทรภิญโญ. การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลเพื่อความคุ้มค่าคุ้มทุน. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร. สามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. 2551.
ชิดชนก มยูรภักดิ์. ผู้ป่วยแผลไหม้: ผลกระทบจากความปวด. วารสารบาดเจ็บไฟไหม้น้ำร้อนลวกแห่งประเทศไทย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ธ.ค.2551. กรุงเทพมหานคร.
รัตนะ บัวสนธ์. วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พริ้นท์ (1991)
จำกัด. 2555.
วิจิตร ศรีสุพรรณ. การวิจัยทางการพยาบาล: หลักการและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่.
โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2545.
วิโรจน์ สารรัตนะ. วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการวิจัยทางการบริหาร
การศึกษา. ขอนแก่น : อักษราพิพัฒน์, 2545.
Napaporn Subongkosh. A Survey of Sleep Quality in Adult Burn Patients. Thematic
paper of Master degree of Nursing Science. Mahidol University. 2003.
Reshin Maharaj, Sharon Andrew, Louise O’Brien and Donna Gillies. A Mixed Methods
Sequential Explanatory Study: Police Referrals to a Psychiatric Facility. Mixed Methods Research for Nursing and the Health Sciences. Blackwell Publishing Ltd. 2009.
S. Andrew and E.J. Halcomb. Mixed Methods Research for Nursing and the Health
Sciences. A John Wiley & Sons, Ltd., Publication. 2009.

Downloads

Published

2021-08-27

How to Cite

คำเติม น. (2021). การวิจัยแบบผสานวิธี : แนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล 124-132. Ubon Ratchathani Journal of Research and Evaluation, 1(1), 124–132. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/250801