การวิจัยและพัฒนา..สู่การจัดการเรียนการสอน 133-142

Authors

  • ณัฐวดี วังสินธ์

Abstract

 

สิ่งสำคัญของการจัดการศึกษา ที่มีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุดคือ ครูผู้สอน เพราะคุณภาพการสอนของครูเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพของนักเรียน เนื่องจากครูเป็นผู้มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ คือเป็นผู้ทำการวางแผน ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นผู้ปรับปรุง เป็นผู้กำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ และเป็นนักวิจัย ดังนั้นเมื่อครูเปลี่ยนบทบาทจากครูผู้สอนมาเป็นนักวิจัย และพัฒนาแล้วนั้น จำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับการกระบวนการวิจัย เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือ สามารถที่จะนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนของตนได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับการวิจัย และพัฒนา (Research & Development) ซึ่งเป็นการวิจัยรูปแบบหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนางาน พัฒนาวิชาชีพ หรือการพัฒนาวิถีชีวิตของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันองค์กรด้านการศึกษา ได้พยายามส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดให้มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเชื่อว่าการวิจัยและพัฒนาจะช่วยให้ได้ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

References

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2555.
องอาจ นัยพัฒน์. การออกแบบการวิจัย : วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ
พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
Donald Clark. “Instructional System Design-Analysis Phase” Retrieved October,
2003 From www.nwlink.com/-donclark/hrd/sat 2.html
Gall, Borg, and Gall.Educational Research An Introduction. Sixth Edition. New York :
Longman Publishers,1996.
Krajewski, L.J., & Ritzman, L.P. Operational management: Strategy and analysis
(6thed.). Upper Saddle Rever, NJ: Prentice-Hall, 2002.

Downloads

Published

2021-08-27

How to Cite

วังสินธ์ ณ. (2021). การวิจัยและพัฒนา.สู่การจัดการเรียนการสอน 133-142. Ubon Ratchathani Journal of Research and Evaluation, 1(1), 132–142. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/250803