ความสุขในการทำงานของพนักงาน บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลส์ จำกัด พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • ภัทรดนัย ใต้ไธสง

คำสำคัญ:

ความสุขในการทำงาน, ความสุข, พนักงานบริษัท

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพนักงาน บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลส์ จำกัด 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลต่อองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลส์ จำกัด และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานกับระดับความสุขในการทำงานของพนักงาน บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลส์ จำกัด พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เก็บข้อมูลจากประชากรที่เป็นพนักงานของบริษัททั้งหมด จำนวน 370 คน แบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลได้ จำนวน 368 ชุด เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าแจกแจงแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
          ผลการวิจัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการ เพศหญิง อายุ 26-30 ปี สถานสภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี อายุการทำงาน 1-3 ปี ภาพรวมความสุขในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงาน อยู่ในระดับเห็นด้วย ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสุขในการทำงาน คือ ระดับการศึกษา อายุการทำงาน และระดับตำแหน่งงาน โดยมีผลกับความสุขในการทำงานภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ส่วนเพศ อายุ และสถานภาพ ไม่มีผลกับความสุขในการทำงาน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานกับระดับความสุขในการทำงาน พบว่า ด้านลักษณะงาน มีค่าความสัมพันธ์ทางบวกสูงที่สุด คือ ค่า r = 0.779, ค่า p-value = 0.000 รองลงมา คือ ด้านค่านิยมร่วมขององค์กร ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ด้านผู้นำ และด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ตามลำดับ

Author Biography

ภัทรดนัย ใต้ไธสง

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

References

ขจีพรรณ พิลุน. (2558). ความสุขในการทำงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรภาค 4 จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
งานด้านนโยบายและแผน. (2559). รายงานผลการดำเนินงานตามค่าดัชนีชี้วัดขององค์กร. กรุงเทพฯ: ทรู ดิสทริบิวชั่นส์ แอนด์ เซลส์.
จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2557). ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
จิรา เติมจิตรอารีย์. (2557). พฤติกรรมองค์กรและการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์.
ชุติกาญจน์ อิงชัยภูมิ. (2557). ความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
เชาวลิต สบายใจ. (2557). ความสุขในการทำงานของบุคลากร สังกัดกระทรวงสาธารณสุขพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. (2556). การพัฒนาองค์กรและบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาวิชาการ.
ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงานความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์. (2560). รายงานอัตรากำลังของพนักงาน ประจำปี 2560. ขอนแก่น: ทรู ดิสทริ บิวชั่นส์ แอนด์ เซลส์.
พรพินิจ วงศ์สุนา. (2558). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาวิชาการ (พ.ว.).
พรรณิภา สืบสุข. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท ขอนแก่นแหอวน จำกัด และบริษัทในเครือ. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
พสุ เดชะรินทร์. (2558). แนวทางการจัดการองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์.
ภูวนัย มงคล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ ในจังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
มาริสา อมรกิจสุนทร. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ฤทธิ์ณรงค์ อินตาโล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมในการทำงานและบทบาทการบังคับบัญชาของหัวหน้างานกับพฤติกรรมการทำงาน: กรณีศึกษาสำนักงานเทศบาล จังหวัดชัยภูมิ. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
วิจิตรา มาตาปิตา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมชาย เสนีวงษ์. (2558). องค์กรแห่งความสุขกับการบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์.
สุนิสา ปรีสว่าง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรความต้องการมีส่วนร่วมในองค์กรและความสุขในการทำงาน: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2018