รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้อบแห้ง ของผู้บริโภคจากซุปเปอร์มาร์เก็ต ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
รูปแบบบรรจุภัณฑ์, ผู้บริโภค, การตัดสินใจซื้อ, ผลไม้อบแห้งบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อผลไม้อบแห้งของผู้บริโภคจากซุปเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานคร และศึกษารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค รวมถึงระดับความสำคัญของปัจจัยที่ใช้ ในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เพื่อผู้ประกอบการในธุรกิจผลไม้อบแห้งได้นำผลการวิจัยไปใช้พัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ของตนเอง ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 420 ราย ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่ซื้อผลไม้อบแห้งจากซุปเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มแบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น และใช้วิธีการเลือกแบบกำหนดสัดส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้อบแห้ง คงมีเพียงปัจจัยด้านสถานภาพที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะคำนึงถึงความสามารถของบรรจุภัณฑ์ในการห่อหุ้ม ปกป้องสินค้าและคุณลักษณะทางการตลาดไปพร้อมกัน โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับ มากที่สุด ได้แก่ คุณภาพของผลไม้อบแห้ง รองลงมา คือ สถานที่จำหน่าย และเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า ตามลำดับ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับวัสดุที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ผลไม้อบแห้ง โดยชื่นชอบ บรรจุภัณฑ์ทรงกระบอก และต้องการให้มีความโปร่งใสสามารถเห็นสินค้าที่บรรจุภายในได้ ขนาด ที่ชื่นชอบ คือ 200 กรัม โทนสีที่ชอบ คือ โทนสีอ่อน พิมพ์ 4 สี มีทั้งส่วนที่สีมันวาว และส่วนที่เป็นสีด้าน รูปภาพบนบรรจุภัณฑ์ที่ชื่นชอบ คือ ภาพถ่าย ตัวอักษรที่ชื่นชอบ คือ แบบดั้งเดิมมีหัว ควรมี 2 ภาษา เช่น ไทย-อังกฤษ ข้อความบนบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ ข้อความบอกส่วนประกอบ และคุณค่าทางอาหาร วันผลิตและหมดอายุ ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานสินค้าโดยจะมองหาทุกครั้งที่จะซื้อสินค้า ส่วนปัจจัยทางด้านรูปทรง ขนาด วัสดุ และการออกแบบกราฟฟิกนั้น ผลการวิจัยพบว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ มีเพียงปัจจัยด้านสีสันที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ
References
คงศักดิ์ ดอกบัว. (2556). ทิศทางอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกและแนวโน้มของโลก. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiplastics.org/content_attachment /attach/20130819.pdf (2559, 25 พฤษภาคม).
ฐานเศรษฐกิจ. (2559). ชี้คนรุ่นใหม่เสพสื่อออนไลน์ ‘อะแด็ป เตอร์’ ตั้งทีมรับลูกค้าใหม่. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: https://www.thansettakij.com/content/77368 (2559, 10 พฤศจิกายน).
ไทยรัฐ. (2559). มูลค่าอาหารเพื่อสุขภาพ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=gRBibccKnuA (2559, 20 มิถุนายน).
ธารนันท์ สุโนภักดิ์ และมนตรี วิบูลยรัตน์. (2557). ปัจจัยด้านการตลาดบริการและพฤติกรรมที่มีผล ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้านำเข้าภายในซุปเปอร์มาร์เก็ต ในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.). 2(2): 74-82.
เพชรลดา สุทธิอัมพร. (2548). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้ง ในเขตเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ลัดดา โศภนรัตน์. (2546). อิทธิพลของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2559). ตลาดซีเรียลในประเทศไทย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=85 (2559, 10 พฤศจิกายน).
Briston, J. & Neill, T. (1972). Packaging Management. Madison: Gower
Yamane, T. (1967). Statistics; An Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper and Row
Yuwadee, T. (2013). Investigated Functional Drink Consumer’ Attitude of Packaging in Bangkok and Boundary. Independent study Master of Business Administration, Stamford International University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์