มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นในตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • สุริยะ หาญพิชัย
  • ณัฐทิญาภรณ์ การะเกตุ

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมท้องถิ่น, ตำบลบัวชุมไทย, เบิ้งบัวชุม

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงของมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นในตำบลบัวชุม และ 2) อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นในตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชนในตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล
           ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุมชนตำบลบัวชุม เดิมเรียกว่า เมืองบัวชุม มีความเป็นมายาวนาน ตามหลักฐานทางบันทึกโบราณ เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่ติดกับโคราช ในอดีตบ้านบัวชุมเป็นเส้นทางการค้าวัวควาย ทำให้เชื่อว่าประชาชนชาวบัวชุมเป็นคนโคราชที่อพยพย้ายถิ่นฐานมา ซึ่งนิยมพูดภาษาไทยเบิ้งบัวชุมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่นในตำบลบัวชุม คือ วัฒนธรรมหัตถกรรม อาทิ ตะกร้า กระบุง การจักสานมีการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นในรูปการศึกษาแบบครูพักลักจำ วัฒนธรรมอาหาร อาทิ แกงบอน แกงขี้เหล็ก มีการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นในรูปการศึกษาในครัวเรือนจากพ่อแม่สู่ลูก และวัฒนธรรมรำโทน คณะรำโทนบัวชุมมีการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นในรูปการศึกษาแบบมุขปาฐะ 2) การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นในตำบลบัวชุม มีการอนุรักษ์รูปแบบวัฒนธรรมดั้งเดิมผสมผสานกับการพัฒนาให้มีความทันสมัยตามยุคสมัย ซึ่งมีการสืบสานดังนี้ 1) รับการถ่ายทอดจากคนในครอบครัว 2) หาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง 3) เรียนรู้ฝึกฝน 4) ส่งต่อความรู้ให้แก่เยาวชนรุ่นต่อไป

Author Biographies

สุริยะ หาญพิชัย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

ณัฐทิญาภรณ์ การะเกตุ

คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

References

กานดา เต๊ะขันหมาก. (2554). กระบวนการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ามัดหมี่ของผู้ทรงภูมิปัญญาไทพวนบ้านหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรม.
คณะกรรมการคุรุสภาอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. (2540). ชัยบาดาลบ้านเรา หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดความรู้เรื่องท้องถิ่น. ลพบุรี: มิ่งเมือง.
จามร พงษ์ไพบูลย์. (2550). กระบวนการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษา “เพลงโหงฟาง” ของจังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาพัฒนศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.
ชานนท์ วิสุทธิชานนท์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ในตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชาญวิทย์ ตีรประเสริฐ. (2549). พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านการแสดงทางวัฒนธรรมและกระบวนการรื้อฟื้นความเป็นไทยเบิ้ง. วิทยานิพนธ์สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนพชร นุตสาระ.(2557). แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีของชาวกะเหรี่ยงตำบลบ้านจันทร์อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ทรงคุณ จันทจร, พิสิฏฐ์ บุญไชย และไพรัช ถิตย์ผาด. (2552). คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
บูรณ์เชน สุขคุ้ม และธนพล วิยาสิงห์. (2556). วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์กูยจังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ.
พลอยภัทรา ตระกูลทองเจริญ. (2557). การศึกษาความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: หมู่บ้านศาลาแดงเหนือเชียงรากน้อย. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุรัตน์ เลิศล้ำ และคณะ. (2553). โครงการศึกษาความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยอดีตถึงปัจจุบันเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณในพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและคาบสมุทรมลายา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2018