การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์จากการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวกับการใช้วิทยาศาสตร์ระหว่างการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบสมองเป็นฐาน กับการเรียนแบบปกติของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีเพศต่างกัน
คำสำคัญ:
การโต้แย้ง, การคิดวิพากษ์วิจารณ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ 2 วิธีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีเพศต่างกัน จำนวน 59 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มกลุ่ม โดยแบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบสมองเป็นฐาน และกลุ่มควบคุม จำนวน 29 คน ที่เรียนด้วยรูปแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์สำหรับกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างละ 3 แผน คือ การโคลนนิ่งมนุษย์ การเผาขยะ การใช้สารเคมีในการปลูกผัก แผนละ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการโต้แย้ง และแบบทดสอบวัดการคิดวิพากษ์วิจารณ์ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Paired t-test และ F-test (Two way MANCOVA และ ANCOVA)
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนโดยส่วนรวมและจำแนกตามเพศกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีการพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งเพิ่มขึ้นจากการทดสอบประเด็นที่ 1-4 และมีการคิดวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้านเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน และนักเรียนที่มีเพศต่างกัน มีความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์ไม่แตกต่างกัน ส่วนนักเรียนกลุ่มทดลอง มีเฉพาะความคิดวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและรายด้าน 3 ด้าน คือ ด้านนิรนัย ด้านอุปนัย และด้านการระบุข้อตกลงเบื้องต้น มากกว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบปกติ นอกจากนี้ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและรูปแบบการเรียนต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียน โดยสรุปการเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบสมองเป็นฐาน สามารถพัฒนาความสามารถ ในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
References
จิตติมา นนท์นภา. (2556). การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ระหว่างรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบของ Wheatley กับการเรียนแบบปกติที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์ วิจารณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีเพศต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โชคชัย ยืนยง. (2550). การใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 10(2): 29-34, เมษายน-มิถุนายน.
ณฐพงศ์ มาแสง. (2556). การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนการสอนแบบผสมผสานตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์กับการเรียนแบบปกติที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ที่มีเพศต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธิดาวรรณ์ สีหะวงษ์. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL และแบบ 4 MAT. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิราศ จันทรจิตร. (2553). การเรียนรู้ด้านการคิด. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประภัสสร กองแก้ว. (2554). การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีเพศต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2530). แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน. 2(2): 1-8, กรกฎาคม-ธันวาคม.
ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2534). ค่านิยมวิทยาศาสตร์กับการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม. 10(2): 60-74.
ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2550). เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ความรอบรู้หรือความแตกฉานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Scientific & Technological Literacy). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วินนา ประคองบุญ. (2556). การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การเรียนการสอนแบบผสมผสานตามรูปแบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์กับรูปแบบปกติที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีเพศต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
อรพินท์ ตันเมืองใจ. (2556). ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Ausubel, D. (1968). Educational Psychology. New York: Holt, Rinehart & Winston.
Barrows, H. & Tamblyn, R. (1980). Problem-based Learning: An Approach to Medical Education. New York: Springer Publishing.
Caine, R. N. & Caine, G. (2004). The Core Principles of Brain-Based Learning. [Online]. Available From: <http//www.emtech.net/brain based Learning. cfm [10 march 2017]
Fowler, H. W. & Fowler, F. G. (1990). The Concise Oxford Dictionary of Current English. (8th ed). Oxford: Clarender Press.
Kolsto, S. D. (2001). Scientific Literacy for Citizenship Tools for Dealing with the Science Dimension of Controversial Scientific Issues. Science Education. 85(3): 291-310.
Lewis, S. E. (2003). Issue-Based Teaching in Science Education. [Online]. Available from: https://www.actionbioscience.org/education/lewis.html. [21 June 2017].
Lin, S. & Mintzes, J. J. (2010). Learning Argumentation Skills through Instruction in Socioscientific Issues. Taiwan: National Science Council.
Pedretti, E. (1999). Decision Making and STS Education: Exploring Scientific Knowledge and Social Responsibility in Schools and Science Center through an Issues based Approach. School Science & Mathematics. 99(4): 174-181.
Sadler, T. D. (2002). Socioscientific Issue Research and Its Relevance for Science Education. [Online] Available from: https://www. Eric.ed.gov (21 June 2017).
Sadler, T. D., & Zeidler, D. L. (2005). The significance of content knowledge for informal reasoning regarding socioscientific issues: Applying genetics knowledge to genetic engineering issues. Science Education. 89(1): 71-93.
Watson, G. & Glaser, E. M. (1964). Critical Thinking Appraisal Manual. New York: Harcout Brace & World. [Online], Available: https://student.plattsburgh.edu/flem6282/Brain_Based_Lesson_Plan.html
Yager, R. E. (1984). The Major Crisis in Science Education. School Science and Mathematics. 84(3): 189-197.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์