ปัญหายุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์
  • พรนภา เตียสุธิกุล
  • บุญทัน ดอกไธสง

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัล, การบริหารภาครัฐ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหายุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาทฤษฎี แนวคิด ตัวแปร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 16 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอุปมานวิเคราะห์และการตีความ 2) ผลจากขั้นตอนที่ 1 กำหนดตัวแปรตามกรอบแนวคิดการวิจัย ตัวบ่งชี้ คำถามการวิจัย โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ตามสูตรของทาโร ยามาเน กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยการสุ่มอย่าง่ายจากผู้ปฏิบัติงาน ในกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) การสังเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และการสนทนากลุ่ม โดยผู้มีส่วนร่วม 12 คน เพื่อข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ 

            ผลการวิจัยพบว่า

            ผลของการศึกษาสภาพปัญหาตามยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ พบว่า บุคลากรมีการใช้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ ยังไม่สามารถบรรลุผลดีเท่าที่ควรซึ่งเกิดจากปัญหาที่สำคัญ 4 ประการ (1) บุคลากรภาครัฐยังไม่ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีดิจิทัลเท่าที่ควร (2) อุปกรณ์ของเทคโนโลยีที่มีอยู่ยังไม่มีความทันสมัยเท่าที่ควร (3) การจัดเตรียมและการเชื่อต่อข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐยังไม่สมบูรณ์ครบด้าน ทำให้การใช้ข้อมูลดังกล่าวยังไม่เกิดประโยชน์มากนัก และ (4) ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน พบว่า วัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ และคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคม มีความเหมาะสมและมีการนำไปปฏิบัติในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัย เชิงปริมาณที่พบว่า การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.38, S.D. = 0.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านบริการอัจฉริยะ อยู่ในระดับสูงสุด (gif.latex?\bar{x} = 3.45, S.D. = 0.85) รองลงมาคือ ด้านการปรับเปลี่ยนการทำงานภาครัฐเป็นเทคโนโลยีดิจิทัล (gif.latex?\bar{x} = 3.41, S.D. = 0.87) ด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มบริการพื้นฐานภาครัฐ (gif.latex?\bar{x} = 3.33, S.D. = 0.91) และด้านการเปิดเผยข้อมูลและประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานภาครัฐ (gif.latex?\bar{x} = 3.33, S.D. = 0.92) ตามลำดับ

Author Biographies

ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

พรนภา เตียสุธิกุล

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

บุญทัน ดอกไธสง

มหาวิยาลัยมหามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2559-2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
คณะนักศึกษาหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง กลุ่มที่ 4 รุ่นที่ 115. (2558). แนวทางการปฏิรูปการสื่อสารมวลชน ด้านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ในทศวรรษหน้าของประเทศไทย. เอกสารวิจัยหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง รุ่นที่ 115 สถานบันจิตวิทยาความมั่นคง.
ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ และประภัสสร วรรณสถิตย์. (2551). เปิดโลกนิวมีเดียและดิจิทัล. สมุทรปราการ. เกียวโต เนชั่นพริ้นติ้ง เซอร์วิส.
พิรงรอง รามสูตรณะนันทน์. (2556). ประเด็นความมั่นคง การเมือง และจริตของสื่อสังคมออนไลน์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/15g3pOp.
สมพล ทุ่งหว้า. (2553). วิธีการวิจัยทางธุรกิจและการวิจัยทางธุรกิจตามแนวแนะในเอกสารการสอนชุดวิชาวิธีการวิจัยทางธุรกิจและการวิจัยทางธุรกิจตามแนวแนะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
แสงเดือน ผ่องพุฒิ. (2556). สื่อสังคมออนไลน์: แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading of Fishbeic, M. (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Tana. (2016). เผยสถิติการใช้ Internet และ Social Media ล่าสุด (2016): ประเทศไทยไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://www.9tana.com/node/thailand-social-stat-2016/,2560 (2018, 10 February)
Yamane, T. (1973). Statistics An introductory Analysis. (3rded.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2018