ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ดวงหทัย แสงสว่าง
  • อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ
  • นิลาวรรณ งามขำ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ชนิดหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ (HbA1C >7%) จำนวน 95 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
           ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับพอใช้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและความรุนแรงของโรค และสามารถทำนายพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ โดยค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ -0.24 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
           ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ ควรจัดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้าง ความตระหนักในการปฏิบัติตน แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน และการติดตามเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่ดีขึ้น และนำผลที่ได้นำไปเป็นแนวทางในการติดตามและให้คำแนะนำในผู้ป่วยรายบุคคลเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อการมารับการรักษา การปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้รวมถึงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว

Author Biographies

ดวงหทัย แสงสว่าง

คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ

คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

นิลาวรรณ งามขำ

คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

References

กรรณิกา สายแดง. (2554). กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. (2557). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2558). คู่มือประเมินการดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพปีงบประมาณ 2558. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com. (2528, 28 มีนาคม).
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เทพ หิมะทองคำ และคณะ. (2555). ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จูนพับลิชชิ่ง.
นันทวดี ดวงแก้ว. (2551). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประกาย จิโรจน์กุล. (2556). แนวคิด ทฤษฎี การสร้างเสริมสุขภาพและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ฝ่ายวิจัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่. (2557). สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน. สมุทรปราการ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. (2558). ขอบเขตการดำเนินงานและนโยบายกระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://hph.moph.go.th/index.php?modules=Content& action=history#. (2558, 31 มีนาคม)
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อรพินท์ สีขาว, รัชนี นามจันทรา และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวเฉียว. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
Association, A. D. (2007). Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care. 30 (1): 42-47.
Becker, M., Drachman, R., & Kirscht, J. (1974). A New Approach to Explain in Sick-Role Behavior in Low-Income Population. American Journal of Public Health. 64: 205-215.
Becker, M. H. & Maiman L. A. (1975). Sociobehavioral Determinants of Compliance with Health and medical Care Recommendation. Medical Care. 13(1): 10-24.
Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice. (3rd ed.) Stamford, CT: Appleton & Lange.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2018