ชุมชนเข้มแข็งในทัศนะของชาวชุมชน กรณีศึกษา บ้านปลายคลองบางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
ชุมชนเข้มแข็ง, ลักษณะ, สิ่งบ่งชี้, การเสริมสร้างบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของชุมชนเข้มแข็ง ลักษณะสิ่งบ่งชี้ถึง ชุมชนเข้มแข็งและการสร้างชุมชนเข้มแข็งในทัศนะของชาวชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใน 3 ประเด็นตามวัตถุประสงค์ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการโดยการนำแบบสัมภาษณ์ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างแบบสัมภาษณ์และประเด็นคำถาม จากนั้นจึงนำแบบสัมภาษณ์ที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความคิดเห็นแล้วทดลองสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ในการสัมภาษณ์และ การวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบเพื่อปรับแนวคำถามให้มีความเหมาะสมและตอบวัตถุประสงค์ ในการวิจัย การเก็บข้อมูลใช้วิธีการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (key-informant) จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำทางศาสนา ผู้อาวุโสในชุมชน ผู้แทนสตรีและผู้ที่มีบทบาทในงานพัฒนาชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลได้ยึดหลักตรรกะเทียบเคียงแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควบคู่บริบท (Context) โดยใช้สถิติพรรณนาประกอบ
ผลการศึกษาพบว่า ความหมายของชุมชนเข้มแข็งในทัศนะของชาวชุมชน คือ การที่ชุมชน มีความกินดีอยู่ดี มีอิสรภาพในการจัดการทรัพยากรของชุมชน การไม่เป็นหนี้ การมีสิทธิเหนือชุมชน ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของภายนอก และการมีความสามัคคี มีความไว้วางใจกันระหว่างคนในชุมชน สามารถร่วมมือ ร่วมใจกันแก้ปัญหาของชุมชน มีจิตสำนึกต่อกัน มีศีลธรรม มีความมั่นใจในศักยภาพของชุมชนในการแก้ปัญหาของชุมชน รู้จัก ช่วยเหลือแบ่งปันกัน เสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม พึ่งพาอาศัยกันและกันได้ในยามจำเป็น
ลักษณะหรือสิ่งบ่งชี้ถึงชุมชนเข้มแข็งในทัศนะของชาวชุมชน คือ 1) สมาชิกในชุมชน มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและชุมชน พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและ ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการรับรู้และร่วมลงมือปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน 2) มีการร่วมตัวกันอย่างเหนียวแน่น มีศักยภาพในการพึ่งตนเองและมีการเรียนรู้ร่วมกันนำมาสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยสมาชิกในชุมชนมีการเรียนรู้และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ศาสนาและวัฒนธรรม
การสร้างชุมชนเข้มแข็งในทัศนะของชาวชุมชน คือ 1) การค้นหาศักยภาพและการพัฒนา ภูมิปัญญาของชุมชน 2) การฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน การส่งเสริมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจชุมชน 3) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนมาสร้างประโยชน์และการส่งเสริมให้ประชาชนรวมกลุ่ม และปรับวิธีคิด วิธีการทำงานของภาครัฐจากผู้สั่งการมาเป็นผู้สนับสนุน
References
นภาภรณ์ หะวานนท์และคณะ. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พัชราวดี ตรีชัย. (2552). การวิเคราะห์ความเป็นชุมชนเข้มแข็งของหมู่บ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารร่มพฤษ์. 27(1): 134-138.
พีรพัฒน์ พันศิริ. (2559). เอกสารประกอบการสอน การพัฒนาองค์กรชุมชน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สาวิณี รอดสิน. (2554). ชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านปงจำปี ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2559). การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. (2559). รวมแสงเลเซอร์สนับสนุนชุมชน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.ldi.or.th (1 ตุลาคม 2560).
สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระปฏิรูปที่ 28: ระบบเพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
สุวัฒน์ คงแป้น และคณะ. (2557). ชุมชนเข้มแข็ง ประเทศมั่นคง. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน: กระบวนทัศน์การพัฒนาสู่ประเทศไทย 4.0. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “องค์กรต้นแบบ ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และคณะ. (2559.). การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: มาตา การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559ก). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th (5 ตุลาคม 2560).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560ก). ร่างยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: www.nesdb.go.th
Corinthias. (2012). Community Empowerment through appropriate technology: sustaining the sustainable development. Corinthias Morgana Sianipar et al./procedia Environment Sciences 17:1009-1012.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์