การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ ลด ละ เลิกพฤติกรรม การสูบบุหรี่สำหรับผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น
คำสำคัญ:
รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้, การลด ละ เลิก พฤติกรรมการสูบบุหรี่, ผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น 2) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ ลด ละ เลิก พฤติกรรม การสูบบุหรี่ 3) ทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลด ละ เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในกลุ่มผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยยาเสพติดวัยรุ่น ทุกประเภทที่เข้ารับการรักษารูปแบบผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลรักษายาเสพติด สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 520 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ซึ่งมีค่า ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ ลด ละ เลิก พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดำเนินการศึกษาโดย นำผลจากการวิจัย ในระยะที่ 1 มาเป็นตัวกำหนดในการจัดทำรูปแบบกิจกรรม วิเคราะห์รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อ ลด ละ เลิก พฤติกรรมการสูบบุหรี่ แล้วสังเคราะห์รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ ลด ละ เลิก พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และประเมินคุณภาพของรูปแบบกิจกรรมที่สังเคราะห์ได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และระยะที่ 3 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยทดลองใช้กับผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบวัดการลด ละ เลิก พฤติกรรมการสูบบุหรี่ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น ประกอบด้วย 1) ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า การควบคุมตนเองส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ มากที่สุด 2) ปัจจัยทางสังคม พบว่า สัมพันธภาพในครอบครัวส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่มากที่สุด3) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม พบว่า การเป็นแบบอย่างด้านการสูบบุหรี่ของคนในครอบครัวและเพื่อนส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่มากที่สุด ในกลุ่มผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อ ลด ละ เลิก พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในกลุ่มผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น โดยใช้ผลการวิจัยในระยะที่ 1 มีหลักการสำคัญคือ เน้นการให้ผู้ป่วยยาเสพติดเด็ก และวัยรุ่นควบคุมพฤติกรรมตนเองหรือการชี้นำตนเอง มาใช้เป็นตัวกำหนดในการจัดทำรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อ ลด ละ เลิก พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ประกอบด้วย กิจกรรมทั้งหมด จำนวน 8 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 การสร้างสัมพันธภาพ การตั้งเป้าหมายควบคุมการสูบบุหรี่ ครั้งที่ 2 การค้นหา จัดการและควบคุมสิ่งกระตุ้นที่นำไปสู่การสูบบุหรี่ ครั้งที่ 3 ทักษะการปฏิเสธ ครั้งที่ 4 ทักษะการเผชิญความเครียด ครั้งที่ 5 การหลีกเลี่ยงการกลับไปสูบบุหรี่ซ้ำ ครั้งที่ 6 การวางแผนการให้รางวัลตนเอง เมื่อสามารถบรรลุเป้าหมายการควบคุมการสูบบุหรี่ ตามที่ตั้งไว้ ครั้งที่ 7 การควบคุมปริมาณการสูบบุหรี่ และครั้งที่ 8 การวางแผนกำกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่
3. คะแนนการลด ละเลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่นหลัง เข้าร่วมกิจกรรม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมต้านยาเสพติดในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
จุรีย์ อุสาหะ และคณะ. (2558). การสังเคราะห์อภิมานงานวิจัยปัจจัยป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทย. วารสารกรมควบคุมโรค. 21(4): 271-284.
ชณิษฐ์ชา บุญเสริม และคณะ. (2553). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ. JOURNAL OF HEALTH SCIENCE. 3(2): 6-14.
ดลหทัย ลิ้มทักษิณกุล. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่และปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดวงกมล มงคลศิลป์. (2550). ผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในเด็กวัยรุ่นตอนต้น กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิมศิริ เชาวสกู และคณะ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมาสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ที่เข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่. พยาบาลสาร. 5(4): 67-76.
นิภาวรรณ หมีทอง. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิยม จันทร์นวล และพลากร สืบสำราญ. (2559). สถานการณ์การสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีปลอดบุหรี่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 18(2): 1-10.
นิรชา ทองธรรมชาติ และคณะ. (2544). กลยุทธ์การฝึกอบรมและวิทยากรในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: ลินคอร์นโปรโมชั่น.
ประเทือง หงสรานากร. (2551). การสำรวจสถานการณ์การสูบบุหรี่ของหญิงมีครรภ์ในคลินิกแพทย์ เขตกรุงเทพมหานครชั้นนอก. รายงานการวิจัย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาพร นันทการัตน์. (2552). รายงานการวิจัย การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
ปริศนา คำเงิน. (2553). ความคิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาอิสสระศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพัฒนา คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ปรียาพร ชูเอียด. (2550). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาในภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิราสิณี แซ่จ่อง. (2552). พฤติกรรมเงื่อนไขและผลกระทบของผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้และผู้ที่ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ ในตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มะลิ แสวงผล. (2556). ผลของการฝึกการควบคุมตนอง เพื่อลดความอยากในการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของผู้ป่วยในสถาบันธัญญารักษ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมรีรัตน์ มั่นวงศ์. (2551). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ มอบ. 10(1): 58-71.
เรณู บุญจันทร์ และคณะ. (2552). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน จังหวัดระนอง: รายงานการวิจัย. ระนอง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง.
ลดาวัลย์ คันธธาศิริ. (2550). พฤติกรรมการสูบบุหรี่และปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานการวิจัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลักลีน วรรณประพันธ์. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์และการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชภูมิ ทองใบ และคณะ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมาสูบซ้ำของผู้เข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 3(3): 1-8.
วิรุฬห์รัตน์ ผลทวีโชติ. (2554). รายงานการวิจัย เรื่อง อิทธิพลของสื่อประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในจังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศิริญญา ชมขุนทด และคณะ. (2557). ผลของโปนแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความมั่นในใจในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชาย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 9(1): 91-103.
ศุภกร ชินะเกตุ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชีพ สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันธัญญารักษ์. (2559). สถิติผู้ป่วยยาเสพติดทั้งหมด ปีงบประมาณ 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thanyarak.go.th. (2560, 20 มกราคม)
สมชาติ กิจยรรยง. (2551). เทคนิคการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สายัณห์ วงศ์สุรินทร์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุขุมาลย์ ประสมศักดิ์. (2558). รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยและผลที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. (2557). รูปแบบการดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดอื่น ๆ ในบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 59(1): 15-28.
อนุภาพ ทองอยู่. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนนทบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อมรรัตน์ สุจิตชวาลากุล. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะสูบบุหรี่ของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
อริศรา ธรรมบำรุง. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพนักงาน บริษัท ซีทีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Brown, W. M.; Cudeck, R. (1992). Alternative Ways to Assessing Model Fit. Sociological Methods & Research. 21(2): 230-258.
The National Center for Tobacco-Free Kids. (2001). Woman & Girls and Tobacco. [Online]. Available: http://www.tobaccofreekids.org org. (2014, 12 December).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์