การคิดวิจารณญาณของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • พนิดา ชาตยาภา

คำสำคัญ:

คิดวิจารณญาณ, ครูปฐมวัย, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

          การพัฒนาประเทศ สู่ความสมดุลและยั่งยืนจะต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ให้เข้มแข็งและมีพลังเพียงพอในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาคนหรือทุนมนุษย์ให้เข้มแข็งพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้สภาวะทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง เทคโนโลยีสารสนเทศ การคมนาคม และการศึกษา กลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดน เกิดการแข่งขัน ทุกด้านสูงขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของเด็กและเยาวชน นอกจากนี้กระแสการแข่งขัน ในประเทศทำให้เด็กต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วน ด้านการศึกษาได้มีการแก้ปัญหาด้วยการจัดการปฏิรูปการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงระดับอุดมศึกษามีการปรับกลวิธีการสอนของครู อาจารย์ มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้โดยผ่านการลงมือปฏิบัติหรือประสบการณ์ตรงเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถคิดวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การจัดการศึกษา ในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องเตรียมคนให้มีทักษะในการเรียนรู้และการปรับตัวเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและสามารถดำเนินชีวิตอย่างสมดุลทุกด้าน การเตรียมตัวคนควรเริ่มควรเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัย ซึ่งผู้ที่มีความสำคัญในการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมคนตั้งแต่วัยเยาว์ ให้มีความพร้อมดังกล่าวข้างต้นคือ “ครูปฐมวัย” ดังนั้นครูปฐมวัยจึงจำเป็นต้องมีทักษะด้านการคิดวิจารณญาณในการพิจารณา ไตร่ตรองเพื่อเลือกสรร กลั่นกรองเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การตัดสินใจในการออกแบบและจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เด็กทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ทำประโยชน์ต่อสังคม มีความสามารถในการดำรงชีวิต รอบคอบทางความคิด กล้าตัดสินใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค มีการวางแผนในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาตนเองให้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้เพื่อการพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่เหมาะสมต่อไป

Author Biography

พนิดา ชาตยาภา

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กันตวรรณ มีสมสาร. (2560). หน่วยที่ 12 การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการคิด. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการศึกษาและหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จีรนันท์ วัชรกุล. (2546). การฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ศูนย์วิทยบริการวิชาการ. 11(3): 8-11.
ดารารัตน์ มากมีทรัพย์. (2553). การศึกษาผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา วิชา การเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: เทคนิค พริ้นติ้ง.
พศิน แตงจวง. (2554). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์; และดารณี คําวัจนัง. (2551). สอนเด็กให้คิดเป็น. กรุงเทพฯ: เกรทเอ็ดดูเคชั่น.
สุภาวดี หาญเมธี และคณะ. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มติชน.
สุวิทย์ มูลคำ. (2549). กลยุทธ์ การสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Chaffee, J. (1994). Teacher for Critical Thinking. Education Vision. 2(1): 24-25.
Enniss, R. H. (1985). Alogical basic for Measuring Critical Thinking Skills. Educational Leadership. 43(2): 44-46.
Facience, P. A. (1984). Toward athory of Critical Thinking. Liberal Education. 70(3): 253-261.
More & R. Parker. (1986). Critical Thinking Evaluation Claims and Argument in Everyday Life. California: Mayfiel.
Watson, G. & Edwerd, M. G. (1964). Watson-Glaser Critical Thinking Appraisal Manual for Ym and Zm. New York: Harcourt Brace and World.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2018