ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ หลังประชาธิปไตยของพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พ.ศ. 2500 - 2506

ผู้แต่ง

  • ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน
  • ปิยะ สงวนสิน
  • วรนุช สิปิยารักษ์
  • วรรณลดา กันต์โฉม
  • นริศรา จริยะพันธุ์

คำสำคัญ:

ประชาธิปไตยแบบไทย, บริบททางภาษา, ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

บทคัดย่อ

          ประชาธิปไตยได้แพร่หลายเข้าสู่สยามหลังจากการติดต่อกับชาติตะวันตก แต่ความหมายของประชาธิปไตยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมไทย บทความนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาแนวคิดประชาธิปไตยของพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในช่วงเวลา พ.ศ. 2500 - 2506 ทั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาความคิดทางการเมือง ซึ่งเป็นการศึกษาบริบททางภาษา หรือคลังคำศัพท์ที่นักคิดใช้สำหรับก่อรูปความคิดทางการเมืองของตนเอง
          ผลการศึกษาพบว่า บริบททางภาษาที่มีอิทธิพลต่อการนิยามความหมายประชาธิปไตย ของพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้แก่ 1) องค์การสนธิสัญญาป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.) 2) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 3) ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ บริบททางภาษาดังกล่าวมีอิทธิพลให้พระองค์นิยามความคิดเรื่องประชาธิปไตยของพระองค์ใหม่ว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

Author Biographies

ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน

หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

ปิยะ สงวนสิน

หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

วรนุช สิปิยารักษ์

หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

วรรณลดา กันต์โฉม

หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

นริศรา จริยะพันธุ์

หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

References

กีรติ กล่อมดี. (2552). ความคิดทางการเมืองของเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยันต์ ไชยพร. (2557). รายงานการวิจัย เรื่อง นิธิ เอียวศรีวงศ์ใน/กับวิกฤตการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2522). ชุมนุมพระนิพนธ์ของศาสตราจารย์ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2559). การเมืองระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์)
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2553). การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2560). เค้าโครงรายวิชา สัมมนาความคิดทางการเมืองไทย. เอกสารอัดสำเนา.
สมบัติ จันทรวงศ์. (2533) ภาษาทางการเมือง: พัฒนาการของแนวอธิบายการเมืองและศัพท์การเมืองในงานเขียนประเภทสารคดีทางการเมืองของไทย พ.ศ. 2475-2525. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. .
สายชล สัตยานุรักษ์. (2557). 10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 2 ปัญญาชนหลังการปฏิวัติ 2475. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2551). สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ:
สุลักษณ์ ศิวรักษ์. (2537). “ถวายพระองค์วรรณ” ใน คนดีที่น่ารู้จัก. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
หลวงภัทรวาที. (2506). การทูต ดั่งที่ข้าพเจ้าเรียนรู้จากเสด็จในกรมฯ. ใน ชุมนุมพระนิพนธ์ เพื่อถวายพระเกียรติแด่ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์. พระยามานวราชเสวี (ผู้รวบรวม). พระนคร: พระจันทร์.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2500). เอกสารส่วนบุคคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์. สบ.19.2/21 (เรื่อง Sport Broadcasters Association (31 มกราคม 2500). (เป็นภาษาอังกฤษ)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2503). เอกสารส่วนบุคคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์. สบ.19.3/17 (เรื่อง ระบบการเมืองที่ขัดกัน (20 พฤษภาคม 2503).
Ball. T, Farr, J. & Hanson, R. (1989). Political innovation and conceptual change. (Cambridge: Cambridge University Press.
Pocock, J. (2009). Political Thought and History: Essays on Theory and Method. United Kingdom: Cambridge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2018