การสร้างชุดเสริมทักษะการเขียนทางวิชาการ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม

คำสำคัญ:

ชุดเสริมทักษะ, การเขียนทางวิชาการ, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงวิชาการ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงวิชาการ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงวิชาการ เครื่องมือที่ใช้คือ ชุดฝึกทักษะการเขียน เชิงวิชาการ ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษา จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่า E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงวิชาการ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.90/84.43 2) ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษากลุ่มทดลองที่ใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงวิชาการสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาของนักศึกษากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักศึกษาที่ใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงวิชาการสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงวิชาการ อยู่ในระดับดีมาก

Author Biography

สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

References

จิราพร โชติเธียระวงศ์ เจียรนัย ศิริสวัสดิ์ และสุวรรณ อุดมผล. (2550). การใช้ภาษาไทย 2. ใน “การเขียนรายงานวิชาการ”. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชรัญญา เล็กเจริญศรี. (2559). แบบฝึกการสะกดคำไทยที่ใช้สระ ไอ ใอ อย และอัย สำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ โรงเรียนนานาชาติสวนระยอง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2532). การเขียน 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ดวงใจ ไทยอุบล. (2550). ทักษะการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เถกิง พันธุ์เถกิงอมร. (2558). เอกสารประกอบการบรรยายในโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการเรียนการสอนด้านการวิจัยและด้านการสนับสนุนวิชาการ สำหรับอาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ทนง ทองเต็ม. (2532). การประเมินผลการฝึกอบรม. เอกสารประกอบการบรรยาย เอกสารอัดสำเนา.
ทศพล ชาวอุทัย. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นวรัตน์ โฉมงาม. (2556). ทัศนะของนักศึกษาที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัลลภ สันติประชา. (2557). ปัญหาการเขียนรายงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิชัย กอสงวนมิตร. (2554). ปัญหาการตอบข้อสอบอัตนัยของนักศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. 5(1): 77-85.
สถาบันพัฒนา ข้าราชการพลเรือน. (2532). กระบวนการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.
สุดารัตน์ สารสว่าง. (2552). การบริหาร: การบริหารวิชาการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร.
สุมาลี วีระวงศ์. (2549). ลับคมภาษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
อนงค์ สัตนาโค. (2551). การพัฒนาชุดฝึกการเขียนสรุปความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ผังกราฟิก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดงกำพี้. หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2.
Bloom, B. S. (ed.). (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals. Handbook I: Cognitive Domain New York: McKay.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2018