การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการสอนในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกสอน กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ:
รูปแบบการสอน ทักษะการสอนในศตวรรษที่ 21, การฝึกประสบการณ์การสอนวิชาชีพครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาการจัดการเรียนการฝึกประสบการณ์ การสอนวิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกสอน กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ และ 2) แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสอนในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับอาจารย์นิเทศก์ที่มีต่อปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดเตรียมก่อนสอน ด้านการดำเนินการสอน และด้านทักษะครูคอมพิวเตอร์ ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ การศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบ โดยผู้วิจัยสังเคราะห์จากเอกสารแผนการสอนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ MIAP ของภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาด้านการจัดการเรียนการฝึกประสบการณ์การสอนวิชาชีพครู ของนักศึกษาฝึกสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ ในภาพรวมพบปัญหาทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก ( = 3.54, S.D. = 0.75) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน และปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ด้านทักษะครูคอมพิวเตอร์ในศตวรรษที่ 21 ( = 3.95, S.D. = 0.87) ด้านการดำเนิน การสอน ( = 3.51, S.D. = 0.68) และด้านการจัดเตรียมก่อนสอน ( = 3.29, S.D. = 0.72) และจากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้แนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอน MIAPCED เพื่อส่งเสริมทักษะการสอนในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกสอน กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับการวางแผนจัดการเรียนรู้ กระบวนการฝึกประสบการณ์การสอนวิชาชีพครูตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในลำดับต่อไป
References
ฐาปนีย ธรรมเมธา. (2540). ห้องเรียนคอมพิวเตอร์: จัดสภาพแวดล้อมอย่างไรดี. ครุสาร. 1(1): 24-26.
ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้: การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญมี พันธุ์ไทย. (2545). ประมวลสาระชุดวิชาสัมมนาการประเมิน หน่วย 5 สัมมนาการวิเคราะห์ข้อมูลการนำเสนอและการใช้ผลการประเมิน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางคอมพิวเตอร์ศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2556). นวัตกรรม: การเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
วาสนา สังข์พุ่ม. (2554). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีเชื่อมโยงนิยม. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. 1(2): 50-56.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ. (2559). แนวคิดของการจัดตั้ง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.tpqi.go.th. (2560, 20 สิงหาคม).
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์. (2554). เทคนิคและวิธีการสอนวิชาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุภาณี เส็งศรี และคณะ. (2550). ชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.slideshare.net/kruduangnapa/ss-42907631. (2560, 20 สิงหาคม).
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ และที่เน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิชาการ. (2557). คู่มือแนวปฏิบัติที่ดี เทคนิคการสอนในระดับอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยราชธานี.
Alvarez, A., Fernández-Castro, I. & Urretavizcaya, M. (2005). Dynamic Authoring in on-line Adaptive Learning Environments. In Proceedings of the 2005 conference on Artificial Intelligence in Education: Supporting Learning through Intelligent and Socially Informed Technology. 12(1): 741-743.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์