ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรมจัดทำแผนที่ความคิดในรายวิชาการพัฒนาสมรรถนะ

ผู้แต่ง

  • จิรัฐ ชวนชม

คำสำคัญ:

แผนที่ความคิด, การจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาโดยที่มีต่อผลการพัฒนา การเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจัดทำแผนที่ความคิดในรายวิชาการพัฒนาสมรรถนะ และเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อผลการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจัดทำแผนที่ความคิด ในรายวิชาการพัฒนาสมรรถนะ ประชากรในงานวิจัยนี้ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การพัฒนาสมรรถนะในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ตอนเรียน A1 และ B1 จำนวนรวม 78 คน นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ กลุ่มตัวอย่าง ในงานวิจัยนี้ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาสมรรถนะ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยการสุ่มอย่างเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัย จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน การทดสอบค่าที ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวสำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป
        การจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจัดทำแผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบของผู้เรียนในรายวิชาการพัฒนาสมรรถนะในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ มาเป็นอันดับหนึ่ง ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.97, S.D. = 0.36) รองลงมา ด้านการคิดสร้างสรรค์ ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.97, S.D. = 0.37) และ ด้านความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนที่ความคิด ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.89, S.D. = 0.39) เป็นอันดับสุดท้าย
          ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีพัฒนาการเรียนรู้ในภาพรวมโดยใช้โปรแกรมจัดทำแผนที่ความคิดในรายวิชาการพัฒนาสมรรถนะไม่แตกต่างกันโดยค่า ความน่าจะเป็น (p) ในภาพรวม มีค่าเท่ากับ 0.47
         นักศึกษาที่มีผลการเรียนแตกต่างกันมีพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจัดทำแผนที่ความคิดในรายวิชาการพัฒนาสมรรถนะในภาพรวมไม่แตกต่างกัน

Author Biography

จิรัฐ ชวนชม

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

References

คอสียาห์ สะลี. (2556). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ความหลากหลายของจุลินทรีย์ยูคาริโอตของนักศึกษาหลักสูตรจุลชีววิทยาด้วยการเขียนแผนที่ความคิด. หลักสูตรจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
จิรัฐ ชวนชม, นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร และชิดชม กันจุฬา. (2559). การจัดการเรียนการสอน โดยจัดทำแผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบของผู้เรียน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 6(1): 141-159.
ทอปัด ทิพย์บุญมี, ชาตรี มณีโกศล และผจงกาญจน์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2560). การใช้แผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านปางหมู. พิฆเนศวร์สาร. 13(1) เดือน มกราคม - มิถุนายน 2560.
ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนากระบวนการคิด: แนวทางที่หลากหลายสำหรับครู. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 28(1): 38-54.
ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล โสภารัตนกุล และสุชาดา คุ้มสลุด. (2559). การวิเคราะห์เชิงปริมาณและสถิติทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
แววดาว บุญตา. (2559). การพัฒนาการจัดเรียนการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิดที่มีผล ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.stou.ac.th2qa/knowledge%20center/ กฎกระทรวง/พระราชบัญญัติ.pdf (2556, มิถุนายน 17).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุพิน บุญชูวงศ์. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ต่อการเรียนวิชาหลักการสอนโดยการสรุปเนื้อหาด้วยแผนที่ความคิด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุวิทย์ มูลคำ. (2549). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2018