สถานภาพและการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรณีศึกษา เทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
สถานภาพและการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน, ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพและการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) 2) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับสถานภาพและการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรณีศึกษา: เทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูล จปฐ. มาใช้ในการวางแผนการปฏิบัติงาน โดยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาของแต่ละหน่วยงาน โดยการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม นำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม ตามสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนในกรณีที่ชุมชนไม่สามารถดำเนินการเองได้ หรือดำเนินการช่วยเหลือในการของบประมาณจากส่วนกลาง หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการบูรณาการแผนงาน/โครงการได้ทุกระดับ
2. ปัญหาเกี่ยวกับสถานภาพและการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) คือ ข้อมูลที่จัดเก็บได้ขาดความน่าเชื่อถือ การจัดเก็บข้อมูลไม่ครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้จัดเก็บและผู้ให้ข้อมูล และการขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนมีน้อย
3. แนวทางการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
References
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2550). คู่มือการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ฉบับชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.)
กระทรวงมหาดไทย. (2559). ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 218 ง หน้า 3-7.
กระทรวงมหาดไทย. (2559). สรุปประชุมหารือข้อราชการของกระทรวงมหาดไทย; 13 ตุลาคม 2559; ห้องประชุม 1 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.)
ขนิษฐา กุมารสิทธิ์. (2547). การนำข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ไปใช้ในการพัฒนาชนบท จังหวัดปราจีนบุรี. ปัญหาพิเศษทางนโยบายสาธารณะ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2544). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาคม ประชาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
นวลพธู นาสา. (2557). ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในจังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรพิมล การญาณ. (2555). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระมหาประกาศิต สิริเมโธ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2558). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสพรรณ เกียรติพงษ์พันธ์. (2553). การศึกษาปัญหาการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.): ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์