รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของ ชุมชนเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ชุณษิตา นาคภพ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การมีส่วนร่วม, ศักยภาพ

บทคัดย่อ

          การศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกยไชย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และหารูปแบบ ที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเกยไชย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ลงพื้นที่ศึกษาบริบทชุมชน ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การสนทนากลุ่มย่อยเพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ผลการวิจัยพบว่า ตำบลเกยไชยมีแหล่งทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ ทั้งวัด พิพิธภัณฑ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีและความเชื่อของชุมชนอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ควรพัฒนาศักยภาพของชุมชน ด้วยโครงการมัคคุเทศก์น้อยเชิงอนุรักษ์และโครงการสร้างอัตลักษณ์ ส่วนรูปแบบที่เหมาะสมต่อการจัดการท่องเที่ยวของตำบลเกยไชย คือ การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เน้นการศึกษา วิถีชีวิตชุมชน มีกิจกรรมบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชุมชน เยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและรับฟังเรื่องเล่า ความเชื่อและตำนาน ประเพณีของชุมชนผ่านมัคคุเทศก์น้อยเชิงอนุรักษ์เพื่อเพิ่มความรู้และสร้างความประทับใจต่อการมาเยี่ยมชม รวมไปถึงแวะซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากตาลโตนด สินค้าขึ้นชื่อของตำบลเกยไชยที่แสดงถึงภูมิปัญญาของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

Author Biography

ชุณษิตา นาคภพ

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

References

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และ ศรันยา แสงลิ้นสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร. 32(4): (ต.ค. – ธ.ค. 2555) หน้า 139-146.
นงลักษณ์ จันทาภากุล และนรินทร์ สังข์รักษา. (2556). การศึกษาศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหัวเขาจีนจังหวัดราชบุรี. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/download/160/102.
รัชนี เพ็ชร์ช้าง. (2553). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สุพรรณิการณ์ ขวัญเมืองและเบญจวรรณ โมกมล. (2550). ศักยภาพและความพร้อมของการท่องเที่ยวเชิงสปา จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
Collier, A. & Harraway, S. (1997). Principler of Tourism. Auckland: Longman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2018