ตัวบ่งชี้การคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้บริหาร สถาบันการศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
ตัวบ่งชี้, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้การคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาล ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาล มี 2 ขั้นตอนย่อยคือ การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาล และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้บริหารงานทางการศึกษาพยาบาล จำนวน 6 คน โดยเลือก แบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาตัวบ่งชี้การคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาล มี 2 ขั้นตอนย่อยคือ การยกร่างตัวบ่งชี้การคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาล โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 และการตรวจสอบองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาล โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ค่า IOC ของแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม มีค่าอยู่ระหว่าง 0.6-1 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อปรับปรุงคุณภาพตัวบ่งชี้ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้การคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาล มี 5 องค์ประกอบ และจำนวนตัวบ่งชี้ 48 ตัวบ่งชี้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) องค์ประกอบความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น มี 10 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบความสามารถในการนิรนัย มี 8 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบความสามารถในการตีความ มี 11 ตัวบ่งชี้ 4) องค์ประกอบความสามารถในการประเมินข้อโต้แย้ง มี 11 ตัวบ่งชี้ และ 5) องค์ประกอบความสามารถในการอุปนัย มี 8 ตัวบ่งชี้
References
พนิดา ชาตยาภา. (2561). การคิดวิจารณญาณของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 8(1): 159-170.
พูนสุข อุดม. (2556). การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 13(1): 1-10.
สภาการพยาบาล. (2560). ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2560. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/K004.PDF. (2561, 30 มิถุนายน).
สภาการพยาบาล. (2561). สถาบันการศึกษาและหลักสูตรที่ทำการสอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ที่ได้รับการรับรองสถาบันจากสภาการพยาบาล. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.tnmc.or.th/news/35. (2561, 20 พฤษภาคม).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.onec.go.th/index.php/page/category/CAT0000018. (2561, 30 มิถุนายน).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Bittencourt, G. & Crossetti, M. (2013). Critical thinking skills in the nursing diagnosis process. Revista da Escola de Enfermanagem da U S P. 47(2): 341-347.
Chao, S.-Y., H. Y., Wu, M.-C., Clark, M. J. & Tan, J.-Y. (2013). Identifying critical thinking indicators and critical thinker attributes in nursing practice. The journal of nursing research JNR. 21(3): 204-211.
Watson, G; and Glaser, E.M. (1964). Watson-Glaser Critical Thinking Appraisal Manual: Form Ym and Zm. New York: Harcourt Brace and World.
Watson, G., & Glaser, E. M. (1980). Watson-Glaser critical thinking appraisal. San Antonio, TX: The Psychological Corporation.
Watson, J.C., Arp, R. (2011). Critical Thinking: An Introduction to Reasoning Well. Chennai: Replika Press Pvt Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์