ส่งเสริมการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนตามแนวของบอยเลอร์

ผู้แต่ง

  • เปรมจิตต์ ขจรภัย ลาร์เซ่น

คำสำคัญ:

การสอนคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

          การส่งเสริมการสอนคณิตศาสตร์ ผู้เขียนได้พิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้อง 6 ประการ ประการที่ 1 การเก่งคณิตศาสตร์ คืออะไร โดยพิจารณาสภาวะจิต การเติบโตของเชาวน์ปัญญา 2 ประการ คือ สภาวะจิตคงที่ และสภาวะจิตที่เติบโต ผลกระทบสภาวะจิตต่อการเรียนการสอน การเก่งคณิตศาสตร์มีหลายทาง ประการที่ 2 โปรแกรมคณิตศาสตร์ที่ดี เช่น การเข้าใจในหลักการ รู้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่แม่นยำ ประการที่ 3 รับรู้สนับสนุนและประเมินการสอนคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ครูต้องมีความรู้มากกว่าระดับชั้นที่ตนสอน ครูสอนตามความจำเป็นของนักเรียน นักเรียนเป็นศูนย์กลางและ ใช้เทคโนโลยี ให้นักเรียนทำงาน ที่คัดเลือกไว้แล้ว ให้มีการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ มีโอกาสตั้งคำถาม นักเรียนคล่องแคล่วและเข้าใจในหลักการ ให้โอกาสครูได้พัฒนาวิชาชีพ อย่างต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร โรงเรียนควรจัดตั้งชุมชนเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ประเมินการพัฒนาของครูตลอดเวลา ประการที่ 4 ผู้บริหารทำอะไรได้บ้าง 4.1) ก่อนจะทำอะไรผู้บริหารต้องตรวจสอยโปรแกรมต่าง ๆ ในปัจจุบันมีเป้าหมายการเรียนการสอนที่เหมาะสมหรือไม่ โปรแกรมต้องมีคุณภาพสูง นักเรียนทุกคนมีโอกาสเป็นคนคณิตศาสตร์ และพิจารณาองค์ประกอบ 7 ประการ ที่จะเป็นฐานของโปรแกรมที่เป็นไปได้ คือ เนื้อหา นิสัยจิต (Habits of Mind) ครู การเรียนการสอน การประเมินผล การประเมินครู สัมพันธ์ภายนอก 4.2) ข้อตกลงเกี่ยวกับเป้าหมายจากผู้บริหาร ครูผู้ปกครองและนักเรียน 4.3) หลักฐานความสำเร็จมาจากหลายแหล่ง เช่น จากผล การสอบของนักเรียน จากองค์ประกอบ 7 ประการ ของโปรแกรมคณิตศาสตร์ และเพื่อพิจารณาความสอดคล้องกับเป้าหมายและลำดับความสำคัญตามโปรแกรมหรือไม่ พิจารณาจาก งาน 8 อย่าง คือ งานประเมินผลการเรียนการสอน เนื้อหา สภาพจิตการวิวัฒนาการของเนื้อหา การตรวจสอบภูมิหลังของครูคณิตศาสตร์ สังเกตการสอนของครู การประเมินครู และงานการเรียนการสอนที่สัมพันธ์กับภายนอก พัฒนาตนเองอยู่เสมอโดยการเรียนต่อ หรือรวมกลุ่มพัฒนาวิชาชีพครู หรือเข้าร่วมการพัฒนาการสอนกับเพื่อน หรือเรียนรายวิชาเพิ่มที่มหาวิทยาลัย ประการที่ 5 มีความคิดแล้วทำให้เกิดผล มีข้อเสนอแนะที่จะช่วยแก้ปัญหาและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การลงทุนที่ครู ใช้ผู้เชี่ยวชาญของตน สร้างโอกาสให้ทำงานร่วมกัน คุ้มครองครู เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงคำนึงถึงเวลา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ช่วยเหลือตรงจุดและตรงเวลา โดยพิจารณาจากลักษณะ 7 ขั้นตอน ความสนใจ (Stage of Concern) ของ Hall กับ Hord ประการที่ 6 ส่งที่ควรเฝ้าระวัง คือ ไฟไหม้ฟาง แรงต่อต้านจากครู แรงต่อต้านจากผู้ปกครองหรือชุมชน และความโลเล

Author Biography

เปรมจิตต์ ขจรภัย ลาร์เซ่น

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

References

Boaler, J. (2015). Mathematical Mindsets: Understanding Students’ Potentials Through Creative Math, Inspiring Messages and Innovative Teaching. California: Jossey-Bass.
Dwek, C. S. (2006). Mind set: The New Psychology of Success. New York: Ballantine Books.
Halls, G. E. & Hord, S. M. (2014). Implementing Change: Patterns, Principles and Potholes. (4thed.). Massaschusette: Allyn & Bacon.
Selley, C. L. (2016). Building a math Positive Culture. Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development.
Selley, C. L. (2016). Making Sense of Math: How to Help Every Students Become a Mathematical Thinkers and Problem Solver. Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2018