การวัดระดับเจตคติในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • พรนภา เตียสุทธิกุล
  • พัฒนา พรหมณี
  • จานนท์ ศรีเกตุ
  • นาวิน มีนะกรรณ
  • สุวุฒิ พงษ์วารินศาสตร์

คำสำคัญ:

การวัด, ระดับเจตคติ, การดำเนินงานด้านการสาธารณสุข

บทคัดย่อ

           เจตคติทางด้านสาธารณสุขเป็นความรู้สึก การตอบสนอง แนวโน้มความคิดเห็นอันเป็นลักษณะที่ซ่อนเร้นของจิตใจที่ฝังแน่นอยู่ในความคิดและความรู้สึกของบุคคลทั้งในทางบวกและทางลบ ที่มีต่อการดูและสุขภาพของตนเอง ทั้งด้านการรักษาสุขภาพ การควบคุมโรค การสร้างเสริม ส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสุขภาพของตนเองหลังการเจ็บป่วย เจตคติมี 2 ลักษณะ คือ เจตคติเชิงบวก และเจตคติเชิงลบ องค์ประกอบของเจตคติ ประกอบด้วย ความรู้เชิงประเมินค่า ความรู้สึก และ ความพร้อมกระทำ ที่มีลำดับขั้นตามคุณลักษณะหรือความซับซ้อนของบุคคล 5 ขั้น ได้แก่ 1) การตั้งใจรับ 2) การตอบสนอง 3) การเห็นคุณค่า 4) การสร้างคุณค่า และ 5) การสร้างลักษณะ ของตนเองตามสิ่งที่เห็นว่ามีคุณค่า การวัดระดับเจตคติในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขต้องวัดด้วยเครื่องมือวัดที่เหมาะสมเพื่อทำนายพฤติกรรมสาธารณสุขของบุคคลทั้งด้านบวกและด้านลบ เพื่อเข้าใจสาเหตุและผล เพื่อหาทางป้องกันการกระทำที่ไม่เหมาะสมและแก้ไขจากแรงผลักของเจตคติที่ไม่ดี การวัดระดับเจตคติมี 6 วิธี ได้แก่ 1) การสังเกต 2) การสัมภาษณ์ 3) การใช้มาตรวัดหรือแบบสอบถามเจตคติ 4) วิธีการสะท้อนภาพ 5) การวัดร่องรอยการกระทำ และ 6) การวัดทางสรีระ แต่เครื่องมือและวิธีที่เหมาะสมสำหรับการวัดเจตคติในงานด้านสาธารณสุขคือวิธีการวัดด้วยการสอบถามเจตคติ จากแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า
          การสร้างแบบสอบถามวัดเจตคติในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขด้วยแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีหลักการสร้างดังนี้ 1) กำหนดเป้าหมายเจตคติ 2) รวบรวมข้อความคำถามที่จะวัด 3) นำข้อความคำถามไปทดลองใช้ 4) กำหนดน้ำหนักตัวเลือกในการตอบ 5) คัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าอำนาจจำแนกสูง 6) จัดพิมพ์แบบสอบถาม ก่อนนำแบบสอบถามไปใช้ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ รายข้อด้วยค่าอำนาจจำแนก ตรวจสอบความตรงและความเที่ยงแบบสอบถามทั้งฉบับ หลังการนำไปใช้แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อให้ระดับเจตคติและแปลความหมาย จากนั้นนำผลที่ได้ไปประโยชน์ เพื่อเป็นผลงานและวางแผนการดำเนินงานให้ให้ประสบผลสำเร็จเป็นประโยชน์แก่ประชาชนต่อไป

Author Biographies

พรนภา เตียสุทธิกุล

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

พัฒนา พรหมณี

สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา

จานนท์ ศรีเกตุ

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

นาวิน มีนะกรรณ

สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา

สุวุฒิ พงษ์วารินศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา

References

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2549). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์.
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2548). การวิจัยและพัฒนาพฤติกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
นวลศิริ เปาโรหิต. (2545). จิตวิทยาสังคมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
พัฒนา พรหมณี. (2557). การใช้รูปแบบการฝึกอบรมเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา-สสศท. 5(11): 153-164.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). การพัฒนาเครื่องมือวัดด้านเจตพิสัยและทักษะพิสัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). แบบทดสอบวิจัย. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
อุทุมพร จามรมาน. (2533). คู่มือการประเมินโครงการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: พันนี่พับบลิชชิ่ง.
Kagan, S. (1990). Cooperative Learning: Resources for Teachers. California: Resources for Teachers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2018