การพัฒนาภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง รักษ์พลังงาน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์แอนิเมชัน, พลังงาน, เครือข่ายอินเตอร์เน็ตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ ได้พัฒนาภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องรักษ์พลังงาน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นสื่อการรับรู้เรื่องพลังงานให้เยาวชนได้รู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัดและรู้จักคุณค่าของพลังงาน ซึ่งจะทำให้เยาวชนรับรู้ได้ง่ายและเข้าใจมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ เพื่อพัฒนาภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องรักษ์พลังงาน เพื่อประเมินคุณภาพและเพื่อประเมิน ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องรักษ์พลังงาน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องรักษ์พลังงาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบประเมินคุณภาพที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.62 และแบบประเมินความพึงพอใจของภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องรักษ์พลังงาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพของภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง รักษ์พลังงาน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยคุณภาพรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.54 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.58) และผลการประเมิน ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง รักษ์พลังงาน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยคุณภาพรวมทั้ง 3 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.58 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.57)
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2560). สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย มกราคม - กันยายน 2560. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.dede.go.th/ewt_news.php?nid=45986. (2560, 18 กรกฎาคม).
คุณาสิน อัศวพันธุ์นิมิต, วัชรินทร์ เกตุสละ, ฐิติวัชร์ ทัดแก้ว, วีณา คงพิษ และนงเยาว์ สอนจะโปะ. (2558). การพัฒนาภาพยนตร์แอนิเมชันสองมิติเรื่อง ขบวนการรักษ์โลก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 3(2): 87-94.
ชุมพล จันทร์ฉลอง และอมีนา ฉายสุวรรณ. (2559). การ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง เทพ 3 ฤดู กับการลดโลกร้อน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11(2): 111-119.
ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2561). การพัฒนาการ์ตูนแอนเมชัน 2 มิติ เรื่อง รักษ์ผืนป่า ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 93-103.
ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยคำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะรัตน์ ภิรมแก้ว และจงกล แก่นเพิ่ม. (2558). การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง HOWDY ENGLISH สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(2): 311-317.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2546). Longdo Dictionary. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://dict.longdo.com/search/Animation. (2560, 18 กรกฎาคม).
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม: ภาควิชาวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สรชัย ชวรางกูร และชัชฎา ชวรางกูร. (2553). การพัฒนาวีดิทัศน์แอนิเมชั่นสามมิติ เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. งานประชุมวิชาการ ECTI-CARD 2010 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์