การประเมินผลหลักสูตรการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กันต์ฤทัย คลังพหล หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและวัดผล และสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ศศิธร จันทมฤก หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • วัสส์พร จิโรจพันธุ์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การประเมินผลหลักสูตร, หลักสูตรการศึกษาทั่วไป

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้เป็นการประเมินผลหลักสูตรการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ประเมินผลหลักสูตรการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยกำหนดให้ คณะและรายวิชา GE เป็นชั้น (Strata) จำนวน 500 คน และผู้ให้ข้อมูลกลุ่มคณาจารย์ประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนวิชาการศึกษาทั่วไป ผู้จัดทำคู่มือหลักสูตร และคณะกรรมการบริหารงานหลักสูตรการศึกษาทั่วไป จำนวน 10 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีลักษณะเป็นแบบประเมินที่มีการตอบสนองเดี่ยว ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าความสอดคล้อง มากกว่า 0.80 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในด้านความเที่ยงรายด้าน (Reliability) โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟา (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.85
          ผลการวิจัยโดยรวมพบว่า การจัดการเรียนสอนของหลักสูตรการศึกษาทั่วไปจัดตรงตามหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาทั่วไปจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ Active Learning ได้เหมาะสม มีการวัดประเมินผลตามสภาพจริง แต่ด้านเนื้อหาเอกสารที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ยังไม่ครบถ้วน ตามเนื้อหา โดยได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรที่จะมีคู่มือสำหรับอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนที่เป็นรูปเล่มและเป็นรูปธรรม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ฐานิดา พาราษฎร์. (2556). การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ, พระมหาชุติภัค อภินนฺโท และอธิพงษ์ เพชรสุทธิ์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตตามหลักปรัชญาการศึกษาทางพระพุทธศาสนา. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54.

มานี แสงหิรัญ. (2554). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 9(2): 38-39.

สนิท พาราษฎร์, พัชนี กุลฑานันท์ และสายรุ้ง สอนสุภาพ. (2559). การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 11(2): กรกฎาคม-ธันวาคม.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th. (2559, 14 มีนาคม).

UNESCO. org. (homepage on the internet). A Holistic and Integrated Approach to Values Education for Human Development. (cited 2017 October 31). Available from: http://unesco.org/images/0012/00127914e. pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018