กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ในปาฐกถาธรรม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

ผู้แต่ง

  • พระมหาอรรถพงษ์ อตฺถญาโณ (ผิวเหลือง) หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เรืองเดช ปันเขือนขัติย์ หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กลวิธีการใช้อุปลักษณ์, ปาฐกถาธรรม, อุปลักษณ์

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์การวิจัย คือ การจำแนกประเภทของอุปลักษณ์และกลวิธีการใช้อุปลักษณ์ ในปาฐกถาธรรมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
           ผลการจำแนกประเภทของอุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์ ภาษาศาสตร์ปริชาน และอรรถศาสตร์ปริชานพบว่ามี 3 ประเภท ดังนี้ 1) อุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์ มี 19 อุปลักษณ์ 2) อุปลักษณ์ตามแนวคิดภาษาศาสตร์ปริชาน มี 13 อุปลักษณ์ และสามารถ จัดจำแนกอุปลักษณ์ตามความหมายประจำรูปภาษาได้ 4 อุปลักษณ์ คือ อุปลักษณ์สงคราม อุปลักษณ์วัตถุ อุปลักษณ์การกระทำ และอุปลักษณ์ลักษณะ 3) อุปลักษณ์ตามแนวคิดอรรถศาสตร์ปริชาน มี 30 อุปลักษณ์ และสามารถจัดจำแนกอุปลักษณ์ตามกระบวนการถ่ายโยงทางความหมายจาก วงความหมายหนึ่งไปยังวงความหมายหนึ่งพบว่ามีอุปลักษณ์ 2 ประเภท ดังนี้ 1) ถ้อยคำอุปลักษณ์สามารถจัดจำแนกอุปลักษณ์ได้ 6 อุปลักษณ์ คือ อุปลักษณ์อินทรีย์ อุปลักษณ์สัตว์ อุปลักษณ์ชีวิต อุปลักษณ์วัตถุ อุปลักษณ์การเดินทาง และอุปลักษณ์อาวุธ 2) มโนอุปลักษณ์สามารถจัดจำแนก อุปลักษณ์ได้ 7 อุปลักษณ์ คือ อุปลักษณ์ความตาย อุปลักษณ์ธรรมะ อุปลักษณ์มนุษย์ อุปลักษณ์วัตถุ อุปลักษณ์อินทรีย์ อุปลักษณ์นักโทษ และอุปลักษณ์อาการ
            ผลการศึกษากลวิธีการใช้อุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์ ภาษาศาสตร์ปริชาน และอรรถศาสตร์ปริชาน ดังนี้ 1) กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์มี 3 แบบ คือ อธิบาย เปรียบ และลักษณะการกระทำ 2) กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ตามแนวคิดภาษาศาสตร์ปริชานมี 2 แบบ คือ อารมณ์ และความรู้สึก 3) กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ตามแนวคิดอรรถศาสตร์ปริชานมี 3 แบบ คือ ลักษณะอาการ การเตือน และการเลือกใช้ถ้อยคำที่ไม่ตรงไปตรงมา

References

เคิร์กอาร์เพอร์ซัน (KirkR.Person). (1993). การศึกษาลักษณะวจนะสัมพันธ์ในปาฐกถาธรรมของพระพยอมกัลยาโณ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ.

ฌุมพรี เหล่าวิเศษกุล. (2547). กลไกภาษาเทศนาของพระปัญญานันทภิกขุและพระพยอมกัลยาโณ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐิติวรรณ สินธุ์นอก และธวัญหทัย สินธุ์นอก. (2558). การสื่อสารสารสนเทศเพื่อการโค้ชอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 5(2): 165-179.

พระครูศรีปริยัติวิกรม (วัชรพงษ์ทินฺนาโภ). (2546). ศึกษาเทคนิคและรูปแบบการเผยแผ่พุทธธรรมของพระเทพ สิงหบุราจารย์(จรัญจิตธมฺโม). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี (โอฐสู). (2543). ศึกษาวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระราชวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวุฒิกรณ์วุฑฺฒิกรโณ (พรมพิมพ์). (2543). ศึกษาเทคนิคและวิธีการเผยแผ่พุทธธรรมของพระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2555). พระธรรมเทศนา รับพระราชทานถวายหน้าพระที่นั่ง. กรุงเทพฯ: อนันตะ.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2556). คุณสมบัติ 5 ประการ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อนันตะ.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2556). ธรรมะให้ลูกดี. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อนันตะ.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2556). เย็นหิมะในรอยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: อนันตะ.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2556). สมาธิหลักของใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อนันตะ.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2556). ธรรมะปรารภยามเช้า - ค่ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อนันตะ.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2556). สุขทุกข์อยู่ที่ใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อนันตะ.

สมพร อาภากโร (เหลาฉลาด), พระมหา. (2548). ศึกษาอุปมาอุปไมยในคำสอนของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อมรวิชญ์ ชาครเมธี (บุตรสาร), พระมหา. (2547). ศึกษาเทคนิคการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อุสิธารา จันตาเวียง. (2540). การศึกษาโครงสร้างวจนะในปาฐกถาธรรมของพระครูโสภณบุญญาภรณ์ (ตุ๊จก). วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018