ความตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทในเครือโปลิโฟม จำกัด

ผู้แต่ง

  • ปริญญา สุดอารมย์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ พระนครศรีอยุธยา
  • วสุธิดา นุริตมนต์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ พระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ความตระหนักถึงความปลอดภัย, พฤติกรรมความปลอดภัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทในเครือโปลิโฟม จำกัด ตามลักษณะประชากรศาสตร์ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความตระหนักถึงความปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทในเครือโปลิโฟม จำกัด และ 3) ศึกษาอิทธิพลความตระหนักถึงความปลอดภัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทในเครือโปลิโฟม จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ในเครือโปลิโฟม จำกัด จำนวน 207 คน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์หาค่า t - test ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญ .01
           ผลการศึกษาพบว่า พนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทในเครือโปลิโฟม จำกัด ที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน การได้รับการอบรมความปลอดภัย และการประสบอุบัติเหตุในการทำงานที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมความปลอดภัย ในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการไม่แตกต่างกัน และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ความตระหนักถึงความปลอดภัย พบว่า ด้านการปฏิบัติงาน ด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงาน และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานอยู่ในระดับมากที่สุด และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความตระหนักถึงความปลอดภัย พบว่า ด้านการปฏิบัติงาน ด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงาน และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการลดอุบัติเหตุในการทำงาน และสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับปฏิบัติการของบริษัทในเครือโปลิโฟม จำกัด

References

จักรพงศ์ เอกาพันธ์. (2551). การรับรู้การบริหารความปลอดภัยและพฤติกรรม ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เขามหาชัยพาราวู้ด จำกัด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ณัฐกิตติ์ วัฒนพันธ์. (2549). การรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงาน บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธานน ธนนัตสินธร. (2557). การรับรู้ด้านความปลอดภัย และพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทปิโตรเลียมและปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง. ค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นววิธ จิตต์วรไกร. (2554). ความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท เบสท์เพอฟอร์แมนซ์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เนาวรัตน์ ชามประโคน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานบรรจุภัณฑ์ กรณีศึกษา บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด โรงงานระยอง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.

ภูดิท เตชาติวัฒน์. (2555). การพัฒนาศักยภาพบุคคลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยใช้บริบทเป็นฐานระยะที่ 2. นครสวรรค์: สี่แคว มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี และวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2547). วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.

ศิราณี ศรีวรรณวิทย์. (2554). การรับรู้มาตรการความปลอดภัยของพนักงานโรงงาน ปิโตรเคมีแห่งชาติ. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุธาทิพย์ รองสวัสดิ์. (2555). ปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงานที่มีผลต่อพฤติกรรมในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.เชียงใหม่.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุรดา ลัดลอย. (2557). การศึกษาการรับรู้ความปลอดภัยต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทผลิตภัณฑ์พลาสติก เขตจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สุริยา กอทู. (2554). การจัดการการรับรู้ความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรม เขตอำเภอเขาย่อย จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

เสาวนีย์ เผ่าเมือง. (2554). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท ซีทีเอสอิเล็กทรอนิกส์คอร์เปอร์เรชั่น. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลธัญบุรี.

อนุวรรธก์ แสนตรี. (2556). ความรู้และทัศนคติต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน บริษัท บลูสโคปสตีล (ประเทศไทย) จํากัด. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018