ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนายทหารนักเรียน หลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
คำสำคัญ:
ลักษณะส่วนบุคคล, บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ, การปรับตัว, ความเครียด, นายทหารนักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การปรับตัว และความเครียดของนายทหารนักเรียน 2) เปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคล บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และการปรับตัวกับความเครียดของนายทหารนักเรียน และ 3) ศึกษาตัวแปรสำคัญในการทำนายความเครียดของนายทหารนักเรียน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นายทหารนักเรียนหลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด ปีการศึกษา 2560 จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นายทหารนักเรียนหลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด ปีการศึกษา 2560 จำนวน 200 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดการปรับตัว แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และแบบวัดความเครียด วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) นายทหารนักเรียนมีระดับความเครียดอยู่ในระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 57.5 การปรับตัวอยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ย 3.98 และมีลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 2) นายทหารนักเรียน ที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน มีความเครียดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 3) นายทหารนักเรียนที่มีการปรับตัวด้านร่างกายแตกต่างกัน มีความเครียดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว และอายุ 30 - 39 ปี พยากรณ์ความเครียด ได้ร้อยละ 42.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
เขมรัสนี จันทร์ปาน. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและการปรับตัวของพยาบาลวิชาชีพจังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปวิดา โพธิ์ทอง. (2554). ความเครียด การปรับตัว และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.
พิชญาวดี กงบุราณ. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของพลทหารใหม่กองประจำการ สังกัดกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พีรภาว์ ลิมปนวัสส์. (2549). ความเครียดการจัดการความเครียดและการปรับตัวของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พจนา เปลี่ยนเกิด. (2552). ปัจจัยทำนายความเครียดของทหารที่ปฏิบัติงานในอำเภอศรีสาครจังหวัดนราธิวาส. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด. (2555). หลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด. กรุงเทพฯ: โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด.
สัณฐิติ แสงจันทร์เลิศ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบการสนับสนุนจากครอบครัว และความเครียดของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Farmer, R. E., Monahan, L. H. & Hakeler, R. (1984). Stress Management for Human Services. Michigan: Sage Publication.
Maria Törnroos. (2015). Personality and Work Stress: The Role of Five-Factor Model Traits and Cynicism in Perceptions of Work Characteristics. Helsinki: University of Helsinki.
Milena, M. VujiČiĆ. (2017). Personality Traits as Predictors of Depression , Anxiety, and Stress with Secondary School Students of Final Years. In Collection of Papers of The Faculty of Philosophy 3. (Page 217 - 237). Priština: University of Priština.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์