ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศรัญญา จันกระจ่าง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • สุเมธ ธุวดาราตระกูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, การวิเคราะห์สินเชื่อ, การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารายละเอียดการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ของผู้ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศไทย 2) ศึกษาวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ ในเขตพื้นที่ ภาคตะวันตกของประเทศไทย และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ของธนาคารพาณิชย์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิของผู้ที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศไทย จำนวน 400 คน มีตัวแปรต้นทั้งหมด 11 ตัวแปร ได้แก่ อายุเพศกรรมสิทธิ์สถานภาพจำนวนบุตรอาชีพผู้กู้ร่วมรายได้สินทรัพย์หลักประกันและประเภทสินเชื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในด้านสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาณ ได้แก่ การทดสอบปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคู่ตัวแปร จากนั้นทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
          ผลการศึกษาพบว่า
         1. ผู้ขอสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 38 ปี มีสถานภาพสมรส โดยส่วนใหญ่ ไม่มีบุตร มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และมีผู้กู้ร่วม และยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาท มีสินทรัพย์ปลอดภาระ มีหลักประกันเป็นทาวน์เฮ้าส์ และ เป็นสินเชื่อเพื่อต่อเติมซ่อมแซมที่อยู่อาศัย
         2. วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1,702,200 บาท ต่อราย
         3. อายุอาชีพ ผู้ขอกู้ร่วมของผู้ขอสินเชื่อ รายได้ของผู้ขอสินเชื่อสินทรัพย์ของผู้ขอสินเชื่อ หลักประกันของผู้ขอสินเชื่อ และประเภทสินเชื่อของผู้ขอสินเชื่อ มีอิทธิพลต่อการอนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ในเขตภาคตะวันตก ประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ไกร ฤทธิ์คำรพ. (2558). ความพึงพอใจของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต่อการให้บริการสินเชื่อองค์กรชุมชนธนาคารออมสิน: ศึกษาเฉพาะกรณีในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 5(2): 125-135.

เคียงเดือน พิจิตรชุมพล. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้สินเชื่อของสถาบันกรเงินที่มีต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). เอกสารวิจัย เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย มหาวิทยาลับเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ.

ชมรมผู้บริหารธนาคารออมสินภาค 11. (2555). การวิเคราะห์เครดิตสมัยใหม่. เข้าถึงได้จาก http://www.mgsb.net/index.php/77-2012-03-30-15-55-32/96--modern-credit-analysis (2560, 17 ธันวาคม)

ทวีวัฒน์ จงหมายกลาง. (2561). เจาะสานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ไตรมาสแรก ประจำปี 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.dotproperty.co.th/blog/ที่อยู่อาศัย-เจาะสานการณ์ตลาดในไทย (2561, 7 มิถุนายน)

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). รายชื่อสถาบันการเงินในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/WebsiteFI/Pages/InstList.aspx (2561, 21 กุมภาพันธ์)

เอกการ กุลรวีสร. (2558). หลักการวิเคราะห์สินเชื่อ 5C’s ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการสมัครขอสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ กับบริษัท เอแคปปิตอล จำกัด กรณีศึกษา ลูกค้ากลุ่มตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอกรัฐ วงศ์วีระกุล. (2553). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารพาณิชย์ ของคนทำงานในจังหวดพระนครศรีอยุธยา. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018