รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กุสุมา เลาะเด ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียน, รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กับนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา VLE 101 (การเตรียมพร้อมทักษะภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา) จำนวน 312 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสำรวจรูปแบบการเรียนรู้ภาษา (PLSPQ) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.949 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว
          ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ชอบใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยการฟัง ( = 3.90, S.D. = 0.21) และรูปแบบ การเรียนรู้เป็นกลุ่ม ( = 3.90, S.D. = 0.12) มากที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบการรู้ด้วยการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่าง ๆ ( = 3.86, S.D. = 0.20) และมีการใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามลำพัง ( = 3.55, S.D. = 0.21) น้อยที่สุด
นอกจากนี้ยังพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กับสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.

เปรมจิตต์ ขจรภัย ลาร์เซ่น. (2559). สะเต็ม ศึกษา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 6(3): 185-195.

มติชน. (2560). เผยโอเน็ต ม.3 คะแนนเฉลี่ยทั่วประเทศต่ำกว่า 50 ทุกวิชา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/news/507624. (2561, 28 กุมภาพันธ์).

อรุณี อรุณเรือง และคณะ. (2556). รูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

English Proficiency Index. (2017). The World's Largest Ranking of Countries by English skills. [Online], Available: https://www.ef.co.th/epi/. (2018, 19 January).

Katsuda, C. & Lynch, R. (2556). A Study of Learning Styles, Motivation for Learning and Student Achievement among Thai University Students Studying Japanese as a Foreign Language at King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 12(1): 178-185.

Mulalic, A. et al. (2009). Perceptual Learning Styles of ESL Students. European Journal of Social Sciences. 7(3): 101-113.

Peacock, M. (2001). Match of Mismatch? Learning styles and Teaching Styles in EFL. International Journal of Applied Liguistics. 11(1): 38-58.

Reid, J. M. (1987). The Learning Style Preferences of ESL Students. TESOL Quarterly. 21(1): 87-111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018