รูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • เฉลิมวุฒิพิทักษ์ ลาภหลาย หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สัมฤทธิ์ กางเพ็ง หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สรายุทธ กันหลง หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สุรชัย อนุตระกูลชัย ผู้จัดการฝ่ายขายและบริการภูมิภาคที่ 2.1 สำนักขายและบริการลูกค้าภูมิภาคที่ 2 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
  • อัมพร กุลาเพ็ญ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
  • กลมเกลียว มาเวียง โรงเรียนสาธิตศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การศึกษาตลอดชีวิต, ความเป็นเลิศด้านอาชีพ, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็น และนำเสนอรูปแบบในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ในสถานศึกษาสังกัดองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีด้วยวิธีการเปรียบเทียบรายคู่ (Paired-Samples t-test) การใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพทั้งสภาพ ที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้านแสดงว่า การจัดการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทุกด้าน 2) รูปแบบในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในการพัฒนาท้องถิ่นครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หลักการพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น และ 3) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 2 โครงสร้างระบบบริหาร ประกอบด้วย 1) ปัจจัยการบริหาร 2) ขอบข่ายการบริหาร 3) กระบวนการบริหาร 4) มาตรการกำกับการบริหาร และ 5) คุณภาพผลผลิตการบริหาร ส่วนที่ 3 ขั้นตอน การดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) การเตรียมการดำเนินงาน 2) การดำเนินงาน 3) การประเมินผล และ 4) สรุปและรายงานผล รวมทั้งองค์กรสนับสนุนการบริหาร ได้แก่ 1) กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสำนักงานการศึกษาท้องถิ่น 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เครือข่ายโรงเรียน 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 5) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชน

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2557). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2558 - 2561) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/dlaPlan2558-61.pdf (2558, 15 กันยายน).

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2558). คู่มือประเมินการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School-based Management for Local Development - SBMLD). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://sbmldth.com/manull/sbmld.pdf (2558, 15 กันยายน).

มาเรียม นิลพันธุ์, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, ธีรศักดื์ อุ่นอารมย์เลิศ, ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย, อธิกมาส มากจุ้ย, มารุต พัฒผล และโชติมา หนูพริก. (2556). การพัฒนาแนวทางประกอบการใช้กรอบแผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ด้านอาชีพท้องถิ่น. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.educ.su.ac.th/images/research/57/27.pdf. (2561, 20 กรกฎาคม)

พรชัย ฐีระเวช. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การศึกษาตลอดชีวิตด้วยการบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรสู่ความโปร่งใสด้านการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2557). กรอบแผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพท้องถิ่น. กาฬสินธุ์: มปท.

องอาจ นัยพัฒน์. (2553). การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Jennings, Z. (2000). Functional Literacy of Young Guyanese Adults. International Review of Education. 46(1/2), 93-116.

OECD. (2001). Education Policy Analysis: Education and Skills. Paris: OECD.

Zajda, J. (2002). Education Policy: Changing Paradigms and Issues. International Review of Education. 48(1-2), 67-91.

Zajda, J. & Gamage, D. (2009). Decentralization, School-Based Management, and Quality. Dordrecht: Springer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018