ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสารสกัดจากพืชของบริษัทที่ประสบผลสำเร็จในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุวัชร์ ธนะโสธร สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สุกิจ ขอเชื้อกลาง สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
  • ศิริชัย พงษ์วิชัย ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, การรับรู้, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสารสกัดจากพืช

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับ ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสารสกัดจากพืชของบริษัท ที่ประสบผลสำเร็จในประเทศไทยในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกายภาพ และด้านกระบวนการ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่าง 400 คนที่บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฯ จาก 4 ตราสินค้า ได้แก่ ตราสินค้าแอมเวย์ ซูเลียน กิฟฟารีน และยูนิซิตี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบเป็นคู่แบบหางเดียว (Paired-Sample test (1-tailed test))
         ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคาดหวังของผู้บริโภคฯ มีต่อด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 2) ระดับการรับรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับการรับรู้ของผู้บริโภคฯ มีต่อด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 และ 3) การเปรียบเทียบความแตกต่างด้านความคาดหวังและการรับรู้ พบว่า ค่าเฉลี่ยของความคาดหวังของมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการรับรู้ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 7 ด้าน ที่ระดับ นัยสำคัญ .05

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสมุนไพรไทย: สมุนไพรไทย - สินค้าโลก (พ.ศ. 2556-2560) การพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทย (Thailand Champion Herbal Products: TCHP) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

กฤษฎา เสกตระกูล. (2548). คุณสมบัติที่ดีของผู้ประกอบการ SMEs. โครงการพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ไทยโพสต์. (2555). คนไทยใช้จ่ายเพื่อสุขภาพเพิ่มกระฉูด. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipost.net/node/51440 (2557, 20 ตุลาคม).

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2557). แนวโน้มผู้บริโภคของโลกปี 2557. วารสาร EXIM E-News. 9(4): 1-3.

นิรนาม. (2556). ตลาดวิเคราะห์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://f.ptcdn.info/016/020/000/1402546034-1401820402-o.jpg (2557, 20 ตุลาคม).

นิรนาม. (ม.ป.ป.). ธุรกิจค้าปลีกกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://incquity.com/articles/changing-behaviour-consumers (2557, 20 ตุลาคม)

ปริญ ลักษิตามาศ. (2554). เสริมอาหาร: แนวโน้มและโอกาสการตลาด. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://fb.docs.com/U7SD (2557, 20 ตุลาคม).

พัชรี มาสิม และมาริสา พระวังก่ำ. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องดื่มน้ำอัดลมยี่ห้อ เอส ในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เมทินี ชัยบำรุง และรังสิมา พวงมาลี. (2556). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การรับรู้ตราสินค้าและสิ่งกระตุ้นของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการศูนย์การค้าชุมชน: กรณีศึกษา เดอะเซอร์เคิล ราชพฤกษ์ กรุงเทพมหานคร. จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วป มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิมลศรี แสนสุข และคณะ. (2550). หลักการตลาด= Principle of marketing. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วุฒิวงศ์ แก้วได้ปาน. (2551). ความคาดหวังของประชาชนต่อศูนย์ยุติธรรมชุมชน ตำบลบางศรีเมือง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สายันต์ ตันพานิช. (2555). แนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรเพื่อเพิ่มโอกาส การส่งออก. กรุงเทพฯ: สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ, กระทรวงต่างประเทศ.

อรพรรณ กิจสมเจตน์. (2558). ความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการที่บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

Best. J. W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P. (2000). Principles of Marketing (International Edition). (9th ed.). Prentice Hall International.

Kotler, P. (2003). Marketing Management: An Asia Perspective. (3rd ed). Singapore: Pearson Education.

Neal, C., Quester, P. G., & Hawkins, D. (2002). Consumer Behavior - Implications for Marketing Strategy. (3rd ed). Sydney: McGraw-Hill Irwin.

Theodore, L. (1990). .Marketing Myopia. Harvard Business Review. July-August, 45 - 56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018