การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การดูแลตนเอง, หลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 2) พัฒนารูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3) เปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบางภาษี จำนวน 103 คน และอาสาสมัครหมู่บ้านที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 37 คน ด้วยการสุ่มอย่างเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม เกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมเกี่ยวกับ การบริโภค การจัดการความเครียด การเคลื่อนไหวการออกกำลังกาย พฤติกรรมสุขภาพเพื่อ คุณภาพชีวิต และความรู้เรื่องหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการดูแลตนเองโดยการปรับพฤติกรรมด้านความถี่ ในการรับประทานอาหาร การแสดงออกเมื่อเกิดความเครียดมีค่าลดลง และพฤติกรรมการจัดการความเครียด การเคลื่อนไหวออกกำลังกาย และมีพฤติกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้น มีความรู้ เรื่อง หลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น ผลการเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยชุมชนในพื้นที่นี้ประกอบด้วย เพื่อนบ้าน อาสาสมัครหมู่บ้าน บุคลากรสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และได้พัฒนารูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนชื่อบางภาษีโมเดล (Bangpasee Model)
          ข้อเสนอแนะ จากการติดตามประเมินผลการใช้บางภาษีโมเดลทุก 3 เดือน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่องจนได้รูปแบบที่เหมาะสมสามารถเป็นตัวแบบที่ดีขณะนี้ได้ดำเนินการใช้กับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานแล้ว และควรพัฒนาปรับปรุงนำไปใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต่อไป

Author Biography

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

 

  

 

References

กมลภู ถนอมสัตย์ และมาลินี จำเนียร. (2558). การบริหารจัดการระบบสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลรางกระทุ่ม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชัฏนครปฐม ครั้งที่ 8. วันที่ 31 มีนาคม - 1 เมษายน 2559. หน้า 657 - 667. จังหวัดนครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จักรกฤษณ์ เจริญสิทธิ์ และคณะ. (2561). ทุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา: การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านผาหมอน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 8(1), 61-72.

จรัญญา วงษ์พรหม, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, นวลฉวี ประเสริฐสุข, นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, Slipakorn University .ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ . 8(3), 41-54.

น้อมจิตต์ นวลเนตร์, ศศิวิมล วรรณพงษ์ และ ซากีย๊ะ คามา. (2558). การรับรู้เกี่ยวกับทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองของผู้มีภาวะเสี่ยงในชุมชน. ศรีนครินทร์เวชสาร. 30(1), 57-63.

เนติมา คูนีย์. (2557). การทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี: สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. (2556). ปฏิบัติการเฝ้าระวังภาวะอ้วนลงพุง เพื่อการขับเคลื่อนวิทยาลัยสู่องค์กรไร้พุงต้นแบบ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. ราชบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

พนัญญา ขันติจิตร, ภัทระ แสนไชยสุริยา และพิมพา เทพวัลย์. (2558). การศึกษาระยะเวลาในการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในจังหวัดอุบลราชธานี. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สถาบันประสาทวิทยา. (2550). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: ชมรมพยาบาลโรคประสาทแห่งประเทศไทย.

สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค. (2558). จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อจำนวนประชากรในปี 2556 - 2558 จำแนกตามจังหวัด. {ออนไลน์] เข้าถึงจาก: http://www.nesdb.go.th/nesdb_en/article_attach/article_file. (2561, 13 ธันวาคม)

สมใจ วินิจกุจ. (2556). ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารเกื้อการุณย์. 20 (2), 84-99.

สุภางค์ จันทวานิช. (2547). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.). (2561). รายงานประจำปี 2561. {ออนไลน์] เข้าถึงจากhttp://www.nesdb.go.th/nesdb_en/article_attach/article_file. (2561, 13 ธันวาคม)

Demidova, T. & Galieva, O. R. (2009). The role of thyroid hypofunction in development of metabolic syndrome. Ter Arkh 2009; 81(4): 69-73. PubMed

Nonaka, k. & Takeuchi, H. (2000). Classic work: Theory of Organizational Knowledge Creation. In Morey, D., Maybury, M. T. & Thuraisingham, B. M. Knowledge Management : Classic and Contemporary Work. Mass.: The MIT Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019