ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพรายวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, กิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ, คณะครุศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เชิงผลิตภาพรายวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่เรียนรายวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 ห้อง จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เชิงผลิตภาพ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 และแบบประเมินความเหมาะสมแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินความเหมาะสม ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1: อาจารย์ผู้สอนนำผลการวิจัยมาใช้ในการสอน กิจกรรมที่ 2: นักศึกษาศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนรู้กิจกรรมที่ 3: อาจารย์ผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยในการสอน และกิจกรรมที่ 4: นักศึกษาทำวิจัยโดยออกไปสอนจริงในสถานศึกษาในภาพรวมขององค์ประกอบของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (กิจกรรมที่ 1-4) มีค่า อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.48)
2. หลังจากที่นักศึกษาได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ ในรายวิชาหลักการจัด การเรียนรู้โดยภาพรวมผลการศึกษาค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ ในรายวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.70, S.D. = 0.26)
References
ธัฒนคร พวงคำ. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะพื้นฐานการสร้างองค์ความรู้ วิชา ส 31104 ประวัติศาสตร์ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: Openworlds.
สุวรรณา จุ้ยทอง. (2560). การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 7(2): 143-152.
สุวรรณา จุ้ยทอง. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ รายวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถในการเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
อนงค์นาฎ บรรหาร. (2555). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการประเพณีและวัฒนธรรมในอำเภอชนบทด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน รายวิชา ส16101 สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Bruning, R., Schraw, G.,Norby, M. & Ronning, R. (2004). Cognitive psychology and instruction. (4th ed.). Upper Saddle River, New Jerzy: Merrill/Prentice Hall.
Fitz-Gibbon, Carol Taylor, Lyons Morris & Lynn, ji.auth. (1987). How to design a program evaluation. Newbury Park: Sagh.
Wiggins, G. & McTighe, J. (2006). Understanding by design. Alexandria. VA: Association for Supervision and Curriculum Development.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์