การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาฝึกทักษะวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจที่มีอิทธิพลต่อ ความพึงใจของสถานประกอบการต่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม โดยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี การสุ่มคัดเลือกแบบเจาะจง จากผู้ประกอบการที่รับนักศึกษาไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 255 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจของสถานประกอบการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจ โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ ด้วยวิธีการหมุนแกนแบบมุมฉาก ด้วยวิธีแวริแมกซ์
ผลการวิจัยพบว่า จากตัวแปร 15 ตัว มีค่าสถิติของ Kaiser-Meyer-Olkin มีค่าเท่ากับ .889 และ ค่า Chi-Square มีค่าเท่ากับ 3192.352 สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 2 องค์ประกอบได้แก่ ด้านสมรรถนะวิชาชีพ และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 67.186 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่สำคัญต่อความพึงพอใจของ สถานประกอบการต่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งถ้าทางสถาบันได้นำปัจจัยดังกล่าวไปใช้ ในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทั้ง ในด้านสมรรถนะวิชาชีพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ก่อนออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จะสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับสถานประกอบการต่อไป
References
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). ตลาดแรงงานไทยและบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/DiscussionPaper/DP012013.pdf. (2561, 1 ตุลาคม).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธิติมา พลับพลึง และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบัณฑิตกรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 14(2):32-42.
ฝ่ายวิชาการวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม. (2560). สมุดรายงานการฝึกอาชีพ สำหรับนักเรียน นักศึกษา. นครปฐม: เพชรเกษม.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย 4. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
วรรณี แกมเกตุ. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1232. (2561, 30 มิถุนายน).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.
วิทูร กิจเครือ ชลิตร์ มณีสุวรรณ และชนิดา พลอยสุกใส. (2552) ความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยเทคนิคสุพรรณ ปีการศึกษา 2552 (ผลงานทางวิชาการบุคลากรวิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี หมายเลข 5). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.stc.ac.th/stc/index.php?view=article&catid=44% 3A2009-07-02-10-24-24&id=124%3A-2552&format=pdf&option=com_content &Itemid=48 (2561, 23 กรกฎาคม).
สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: มิสชั่น มีเดีย.
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2561). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2557. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://bsq2.vec.go.th/course/ปวส/ปวส57/หลักการ.pdf (2561, 15 พฤษภาคม).
สัณห์สินี กันโอภาส พิกุลแก้ว คลื่นสุวรรณ และรุ่งเพชร มาน้อย. (2556). การศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อการฝึกงานของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2555. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.gj.mahidol.ac.th/tech/FileDownload/File/D150511184014.pdf (2561, 20 กรกฎาคม).
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2016/08/ nuthasid-vocational-education-v02_2.pdf. (2561, 29 กันยายน).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์