การพัฒนาผลิตภัณฑ์และศึกษาต้นทุนผ้าทอมือประเภทผ้าพันคอเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • บุษบา หินเธาว์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • รัตนา สิทธิอ่วม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ผ้าพันคอ, เพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอประเภทผ้าพันคอ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มลูกค้าผู้หญิงที่มีต่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวหญิงในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร จำนวน 400 คน ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบ 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด 3 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม ความคิดเห็นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอ จำนวน 3 แบบ นำมาวิเคราะห์หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจรูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอแบบที่ 3 มากที่สุด ค่าเฉลี่ย คือ 4.06 รองลงมาเป็นรูปแบบที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.04 และรูปแบบที่ 2 ค่าเฉลี่ย 4.02

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). แผนชุมชนบ้านม่วงหอม การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้าน พัฒนาชุมชน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญกมล ดอนขวา. (2556). การจัดการธุรกิจชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

จุรีวรรณ จันพลา วลี สงสุวงค์ เพ็ญสินี กิจค้า และสุรีรัตน์ วงศ์สมิง. (2016). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(2): 82-98.

ณธีพัฒน์ วชิรชัยเกียรติ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกเรียนดนตรีสากลของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทุเรียน พลโยธา. (2561, 15 กันยายน). ประธานกลุ่มทอผ้าบ้านม่วงหอม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. สัมภาษณ์.

ธานินทร์ ไชยเยชน์. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองตาไก้ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 9(19), 51-61.

นวลน้อย บุญวงศ์. (2542). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทีป สุวรรณรักษ์. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. บุรีรัมย์: ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภิรมย์ แก้วมณี. (2555). การพัฒนาผ้าคลุมไหล่จากผ้าทอมือกะเหรี่ยง กรณีศึกษา หมู่บ้านกะเหรี่ยง-ตะเพินคู่ หมู่ 5 ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รจนา จันทราสา กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์ และภานุ พัฒนปณิธิพงศ์. (2553). การศึกษาและพัฒนาเอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียงเพื่อประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกเพื่อพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึกจังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุภัสรา บุญเรือง จารุรัศมิ์ ธนูสิงห์ ภควรรณ อินทรา สุลีมาศ และคำมุงอินทิรา มุงเมือง. (2559). แนวทางการพัฒนาตลาดผ้าทอไทลื้อในเขตอำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 2(2), 109-121.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2019