รูปแบบการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชำนาญ อยู่แพ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พนายุทธ เชยบาล หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สมคิด สร้อยน้ำ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษา, การอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการนำยุทธศาสตร์ สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา และ 2) พัฒนารูปแบบการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษา ความต้องการจำเป็นการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอาชีวศึกษา ขั้นตอนที่ 2 สำรวจความต้องการจำเป็นในการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ จากประชากรจำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวัง มีความเชื่อมั่น 0.81 และ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีหาค่าเฉลี่ย และจัดลำดับความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้วยวิธี Modified Priority Needs Index (PNI Modified) ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 47 คน โดยใช้เทคนิคการระดมสมอง วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน ใช้ตัวแบบ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกโดยใช้ CPEST Analysis และใช้ตัวแบบในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโดยใช้ 7S Analysis นำผลที่ได้มาร่วมระดมสมองเพื่อหาแนวทางพัฒนารูปแบบการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ความต้องการจำเป็นของการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี ลำดับที่ 1 ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านการยกระดับคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล
          2. รูปแบบการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา มีวิธีการดำเนินการเป็น 7 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นในการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 2 เลือกยุทธศาสตร์ที่ต้องการนำสู่การปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก (SWOT Analysis) ขั้นตอนที่ 4 ออกแบบกลยุทธ์การนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 5 จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ กำหนดกิจกรรม โครงการ ขั้นตอนที่ 6 ดำเนินการตามกิจกรรม โครงการ และขั้นตอนที่ 7 ติดตาม ประเมินผล

References

กัลยาณี ภูยิหวา. (2554). การศึกษาหลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เกสรี แจ่มสกุล. (2551). การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงนภา มกรานุรักษ์. (2554). อนาคตภาพของการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2554-2564). วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บพิตร วงศ์เจริญ. (2550). การดำเนินงานปฏิรูประบบการเรียนรู้วิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บรรจบ บุญจันทร์. (2555). การบริหารสถาบันเพื่อความเป็นเลิศ. โครงการตำราเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร.มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พสุ เตชะรินทร์. (2553). การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1. (2558). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2559. หนองคาย: สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.

สถิรดา ทาขุลี. (2554). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). ยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ 2558. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: www.vec.go.th/Default.aspx?tabid=85. (2559, 28 พฤษภาคม).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี(พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การศึกษาแนวทางการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีตามความต้องการของประเทศ: กรณีศึกษาประเภทอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2558). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: www.moe.go.th. (2559, พฤษภาคม).

สิริมนต์ นฤมลสิริ. (2555). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเทคนิคสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุนันทา สังขทัศน์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้แนวคิด Balanced Scorecard. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม.

สุรวุฒิ สุริยนต์. (2551). แนวโน้มการจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในทศวรรษหน้า พ.ศ. 2551-2560. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lawrie, G. & Cobbold, I. (2001). Strategic Alignment: Cascading the Balanced Scorecard Case Study-Cross House. n.p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2019