แนวทางการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ชมภูนุช หุ่นนาค วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • สมพร เฟื่องจันทร์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ปภาวดี มนตรีวัต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ระบบบัญชี, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการทำระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชน 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชน และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดทำระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ วิธีดำเนินการวิจัยเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้นำ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นการจดบันทึกความจำ จัดทำบัญชีแบบง่าย มีตัวแทนสมาชิกที่ได้รับความไว้วางใจกันภายในกลุ่ม เป็นผู้ดูแลเงินสดรับและเงินสดจ่าย 2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อาทิเข่น ไม่มีการจัดทำบัญชีสินค้าคงเหลือ การสูญหายของเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ขาดผู้ที่มีความรู้ในการจัดทำบัญชี เป็นต้น และ 3) แนวทางในการจัดทำบัญชี ประกอบด้วย 2 แนวทาง ได้แก่ (1) การให้ความรู้ และสนับสนุน ช่วยเหลือในการวางระบบการจัดเก็บเอกสารข้อมูลทางการเงิน และ (2) การกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบทางบัญชีการเงิน เพื่อเก็บข้อมูล และจัดทำบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ซึ่งวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จะได้รับประโยชน์จากข้อมูลทางการบัญชี ที่มีความถูกต้อง เชื่อได้ ใช้ในการวางแผนในการบริหารงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน

References

กุสุมา ดำพิทักษ์ มาลี จัตุรัส และนภาพร เตรียมมีฤทธิ์. (2552). การพัฒนาระบบบัญชีสำหรับ กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP กรณีศึกษากลุ่มอาหาร จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จันทนา พงศ์สิทธิกาญจนา. (2558). แนวทางการจัดการที่มีคุณภาพ ของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการบรรลุยุทธศาสตร์ ด้านการอยู่ดีมีสุข ในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Slipakorn University. 8(2), 2039-2053.

ชมภูนุช หุ่นนาค. (2560). การจัดการภาครัฐแนวใหม่: การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างผลิตภาพสูงสุด. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 7(3), 125-139.

ทิชากร เกษตรบัว และอรวิริยา นามสวัสดิ์. (2556). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สู่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจากกล้วย. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 11(2), 59-71.

มยุรี บุตรโต. (2553). การจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. คณะวิทยาการจัดการการบัญชีบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

วุฒิชัย สายบุญจวง. (2561). ชุมชนเข้มแข็งในทัศนะของชาวชุมชน กรณีศึกษา บ้านปลายคลอง บางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 8(1), 119-129.

วิไล วีระปรียา และจงจิตต์ หลีกภัย. (2548). ระบบบัญชี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ และสุภชัย พาหุมนโต. (2554). การศึกษาระบบบัญชี สำหรับกลุ่มผู้ผลิตโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 6(1), 75-89.

สุขเกษม ลางคุนเสน. (2550). ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชาการวางระบบบัญชีโดยใช้กลุ่มสัมพันธ์สร้างมโนรูปแบบ. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

สุภาพร เพ่งพิศ. (2553). ปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ. วารสารเซนต์จอห์น. 13(14), 61-74.

อรุณี อย่างธารา และคณะ. (2547). การบัญชีการเงิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Chantarasombat, C., & Singkeaw, T. (2012). Quality business service provide in community enterprise. Journal of Social Sciences. 8(2), 258-262.

Mahain, J., Phungwattanankul, A., Pongkachang, T., & Wongkhumhunghan, K. (2011). Potentiality development of community enterprises: Acase study of textile product and apparel, Phathumthanee province. Bangkok: Rajamangala Uninversity of Technology PhraNakorn.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2019