คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร 3) เปรียบเทียบความแตกต่างคุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 5) หาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร และ 6) เสนอแนวทางในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยใช้แบบผสานวิธี การวิจัย เชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 178 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ที่ปรึกษาด้านสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารบุคคล จำนวนทั้งสิ้น 5 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีระดับคุณภาพภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง
2) บุคลากรมีระดับความผูกพันต่อองค์การในระดับปานกลาง 3) บุคลากรมีคุณภาพชีวิตการทำงานจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส อายุราชการ อัตราเงินเดือน และระดับตำแหน่งแตกต่างกัน
4) บุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การจำแนกตามเพศ อายุ อายุราชการ อัตราเงินเดือน ระดับตำแหน่งแตกต่างกัน 5) คุณภาพชีวิตการทำงานสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร และ 6) แนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน โดยการจัดสวัสดิการ จัดฝึกอบรม และจัดกิจกรรมจิตอาสา
References
ขวัญตา พระธาตุ. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรอัยการ กรณีศึกษา: สำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดสงขลา. วิทยาพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
จันทัปพา วิเศษโวหาร. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสตรีในนิคมอุตสาหกรรม
จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ปรียาภรณ์ อยู่คง. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการทหารในจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปวีนา ทรงนุวัด. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารกสิกรไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ปิยะพงษ์ บุญประคอง เจษฎา ความคุ้นเคย และดวงตา สราญรมย์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท โตโยต้าเภตรา จำกัด. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 3(2): 27-42.
เพ็ญศรี เวชประพันธ์. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชครูสำกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. (2546, 6 กรกฎาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 62 ก. หน้า 3.
พลอยบุษรา บุญญาพิทักษ์. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานกับการรักษาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรต่างวัย: กรณีศึกษาบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยศวรรธน์ การะเกตุ. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการราชทัณฑ์ในกลุ่มจังหวัด “ร้อยแก่นสารสินธุ์”. วิทยาพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). รายงานประจำปี 2558 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). รายงานประจำปี 2560 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา). กรุงเทพฯ: เซ็นจูรี่.
อนันต์ มณีรัตน์. (2559). ความผูกพันในองค์การ: ศึกษากรณี สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. วิทยาพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาทิตติยา ดวงสุวรรณ. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบ คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพัน
ต่อองค์กรระหว่างข้าราชการกับพนักงานมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Northcraft, G. B. & Neale, M. A. (1991). The measurement of organizational Commitment. Journal of Vocational Behavior.
Walton, R. E. (1975). The Quality of Working Life: Criteria for Quality of Working Life. New York: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์