ทักษะชีวิต การปรับตัว สัมพันธภาพในครอบครัวกับการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ณัฐธิยาน์ อิทธิโชติ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บัวทอง สว่างโสภากุล ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ทักษะชีวิต, การปรับตัว, สัมพันธภาพในครอบครัว, การพึ่งพาตนเอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะชีวิต การปรับตัว สัมพันธภาพ ในครอบครัวและการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะชีวิต การปรับตัว สัมพันธภาพในครอบครัวกับการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 325 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
          ผลการวิจัยพบว่า ทักษะชีวิต การปรับตัว สัมพันธภาพในครอบครัว และการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง ส่วนเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน โรคประจำตัวของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันมีการพึ่งพาตนเองแตกต่างกัน และทักษะชีวิต การปรับตัว สัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20152309144546_1.pdf. (2559, 15 พฤศจิกายน).

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). รายงานผลการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุด้านการมีงานทำและมีรายได้ ปี 2555. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.m-society.go.th/article_attach/11400/15719.pdf. (2559, 17 พฤศจิกายน).

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดำเนินงานสุขภาพจิตในระบบสุขภาพระดับอำเภอปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โกศล วงศ์สวรรค์ และเลิศลักษณ์ วงศ์สวรรค์. (2551). สุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท ธเนศวร พริ้นติ้ง (1999).

เทพ สงวนกิตติพันธุ์. (2545). ทักษะชีวิต = Life skills: เพื่อทักษะความสุขและความสำเร็จของชีวิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา คชภักดี. (2545). ครอบครัวไทย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.m-society.go.th/article_attach/3768/4500.doc. (2559, 18 เมษายน).

บริบูรณ์ พรพิบูลย์. (2528). โลกยามชราและแนวการเตรียมตัวเพื่อเป็นสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 4). เชียงใหม่: โรงพิมพ์พระสิงห์การพิมพ์.

ปราโมทย์ ประสาทกุล, ศุทธิดา ชวนวัน, และกาญจนา เทียนลาย. (2555). ผู้สูงอายุ: คนวงในที่จะถูกผลักให้ไปอยู่ชายขอบ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/annualconference/Download/2555/2555_conference_full.pdf. (2561, 3 มิถุนายน).

มติชน. (2559). ผู้สูงอายุยุคใหม่ ‘ยืนด้วยตนเอง’. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_185411. (2561, 1 มิถุนายน).

รสาพร หม้อศรีใจ. (2544). การพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนชนบท. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษานอกระบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรนุช สิปิยารักษ์. (2552). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการพึ่งตนเองในผู้สูงวัย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศรีทับทิม พานิชพันธ์. (2527). สัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว. ใน “ประมวลบทความวิทยุ” เกี่ยวกับการจัดบริการสวัสดิการครอบครัวและเด็กและบทความอื่น ๆ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สามลดา.

ศิราภรณ์ นำสุข. (2556). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุกับสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). รายงานการวิจัยสัมพันธภาพในครอบครัว. นครปฐม: แท่นทองชินวัฒน์การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.sukhothai.go.th/mainredcross/7I.pdf. (2559, 15 พฤศจิกายน).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). ครอบครัว ความสุขของผู้สูงวัย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_family1.jsp. (2561, 9 เมษายน).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

สำนักงานสาธารณสุขสมุทรปราการ. (2556). แผนแม่บทสุขภาพฉบับสมบูรณ์ จังหวัดสมุทรปราการระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2559 - 2568). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.spko.moph.go.th/wp-content/uploads/2013/10/Masterplan-10-Year.pdf. (2559, 15 พฤศจิกายน).

สิริอร พัวศิริ และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว การเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://administer.pi.ac.th/uploads/eresearcher/upload_doc/2015/ proceeding/1444822686196607001133.pdf. (2561, 18 เมษายน).

สุคี ศิริวงศ์พากร. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/ 1248/MCT_56_04.pdf?...1, (2561, 12 เมษายน).

Charrurangsri, A. (2014). The Essential Living Skills for Successful Aging among Thai Urban Elders. Thammasat Review. 16(2): 20-34.

Collin, C., et al. (1988). The Barthel ADL Index : A reliability study. International Disability Studies. 10(2): 61-63.

Mathuranath, P. S. et al. (2005). Instrumental Activities of daily living scale for dementia screening in elderly people. International Disability Studies. 17(3): 461-474.

Roy, C. & Andrews, H. A. (1991). The Roy Adaptation Model. (2nd ed). Connecticut: Appleton & Lange.

UNICEF. (2011). Module 7 Life Skills. [Online], Available: http://www.unodc.org/pdf/youthnet/action/message/escap_peers_07.pdf, (2017, 7 January)

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2019