การพัฒนากระบวนการเรียนด้วยกรณีศึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ผู้แต่ง

  • ดาวรถา วีระพันธ์ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • สรรค์ชัย กำจาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

กรณีศึกษา, สื่อสังคมออนไลน์, ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการเรียนด้วยกรณีศึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาจรรยาบรรณทางวิชาชีพและกฎหมายด้านคอมพิวเตอร์ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนจัดกิจกรรมการเรียนด้วยกรณีศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ t-test for One Samples
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 83.33 สูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.6658 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการเรียนด้วยกรณีศึกษาผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = 0.65)

References

กนิษฐา ศรีอเนก. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษากับ การเรียนรายวิชา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ชัยเดช บุญสอน. (2554). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยกรณีศึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การแก้ปัญหาการควบคุมหุ่นยนต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ณัฐพร มักอุดมลาภ. (2554). คู่มือเรียนรู้และใช้งานอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น. นนทบุรี: ไอดีซี.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ภัทราทิพย์ ทรงบุญญา. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องผลการสอนแบบกรณีศึกษาที่มีผลต่อการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษา ในรายวิชา ITB373 การจัดการการส่งออกและนำเข้า สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มารศรี จันทร์ดี และคณะ. (2557). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของ นักศึกษาพยาบาล รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 7(4): 134-155.

วัญญา วิศาลาภรณ์. (2540). การวิจัยทางการศึกษา: หลักการและแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.

สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้: เน้นนักศึกษาเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2559). พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2559. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2016-conference.html. (2560, 20 พฤศจิกายน).

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบ Case Method ที่ได้มาตรฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2019