ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ชัยรัชต์ ก้องเปสลาพันธ์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, การพัฒนาคุณภาพ, การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อ การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยกำหนดกรอบแนวการวิจัยจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นำไปศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรของสถาบันบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล มีทั้งหมด 4 ตอน ตรวจสอบคุณภาพโดยการตรวจสอบความตรงเชิงพินิจ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (The Index of Item-Objective Congruence: IOC) ระหว่าง 0.60-1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.88 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21-0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และศึกษาขนาดอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่นำมาศึกษากับและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ
          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลประกอบด้วย ปัจจัยทางการบริหารองค์กร มีอิทธิพลทางตรงต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และมีอิทธิพลทางอ้อมโดยผ่านปัจจัยทางสังคมและปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลและมีอิทธิพลทางอ้อม โดยผ่านปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนบุคคลมีอิทธิพลทางตรงต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบค่า ไคสแควร์ มีค่า = 44.140 (ไคสแควร์สัมพัทธ์ มีค่า = 1.424) ค่า p-value = 0.059 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = 0.988 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) = 0.976 และค่าความคลาดเคลื่อนการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) = 0.029 โมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้รับอิทธิพลโดยรวมจากปัจจัยทางการบริหารองค์กร มีค่าอิทธิพลโดยรวมมากที่สุด รองลงมา ปัจจัยทางสังคมและปัจจัยส่วนบุคคล ค่าอิทธิพลโดยรวมมีค่าเท่ากับ 3.93  2.75 และ 0.88 ตามลำดับ

References

กัมลาศ เยาวะนิจ. (2560). ปัจจัยที่กำหนดวัฒนธรรมองค์กร: สำรวจผลการศึกษาตามแนวทาง Functionalist และ Interpretivist. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 7(3): 101-111.

กัลยา สุขชัยศรี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการบริหารกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาและรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์. วารสาร มฉก. วิชาการ. 17(34): 31-42.

ชญานุตม์ ทุ่มทวน และสาโรช เนติธรรมกุล. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการปฏิบัติงานและปัจจัย ด้าน

การบริหารกับผลการดำเนินงานในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ณัฐกฤษฎ์ ธรรมกวินวงศ์ และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ของโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 3. พุทธชินราชเวชสาร. 33(2): 178-89.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL): สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. (2560). สถิติผู้ป่วยยาเสพติดทั้งหมด ปีงบประมาณ 2556-2560. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thanyarak.go.th. (2560, 28 พฤศจิกายน).

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: หนังสือดีวัน.

สถาพร รัตนวารีวงษ์และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรสาธารณสุข. Journal of Safety and Health. 7 (26): September-December.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติและทิพยรัตน์ แก้วศรี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรโรงพยาบาลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 7(1): 40-54.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectation. New York: The Free Press.

Celeste, P. M. Wilderom, Mark, F. Peterson & Neal, M. Ashkanasy, The Handbook of Organization Culture and Climate. (2nd ed.). Calfornia: United States of America.

Schumacker, R. E. & Lomex, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). New York: Taylor and Francis group, LLC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019