การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การปรับปรุง, คุณภาพน้ำ, ประปาหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยบุคคลที่มีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และ 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ศึกษาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตัวแทนครัวเรือนโดยวิธีการของเครจซีและมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำนวน 103 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anova) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.17 ระดับอายุในช่วง 51 ปีขึ้นไป การศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกรรม/รับจ้าง รายได้ครัวเรือนต่อเดือนตั้งแต่ 15,001 บาทขึ้นไป และไม่ได้มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนใช้ จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 92.23 เมื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านกับปัจจัยด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า มีระดับการมีส่วนร่วมแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับการมีส่วนร่วมปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านการร่วมดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการติดตามประเมินผล การรับผลประโยชน์ และการตัดสินใจ ตามลำดับ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำข้อมูลไปใช้สำหรับจัดทำแผนปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านในระดับครัวเรือนและหน่วยงานท้องถิ่น โดยชุมชนมีส่วนร่วมรับรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
References
กรมชลประทาน. (2558). คู่มือการปฏิบัติงาน เล่มที่ 8/16 การประเมินการใช้น้ำกิจกรรมต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน.
จานนท์ ศรีเกตุ และคณะ. (2561). คุณภาพน้ำแหล่งน้ำประปาหมู่บ้านและแนวทางการปรับปรุงคุณภาพน้ำของตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. ปทุมธานี: การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่ 9 วันที่ 18-19 ตุลาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ณัฏฐธิดา ชัยสงคราม และยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองสามพราน. วารสารร่มพฤกษ์: มหาวิทยาลัยเกริก. 35(2): 81-98.
ดวงพร อ่อนหวาน และคณะ. (2556). การพัฒนาแนวทางการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคของชุมชนบ้านดงสามหมื่น ตำบลแม่แดด อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ.
นิวัติ เรืองพานิช. (2556). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นันท์นภัส ปลัดศรีช่วย. (2558). วิธีการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำสาธารณะโสกรัง ตำบลโนนสะอาด อำเภอโนนสะอาด. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 4(2): 11-19.
มยุรี โยธาวุธ. (2560). การบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านของประเทศไทย: กรณีศึกษาชุมชน จังหวัดนครนายก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พระครูวินัยธรสุธินันท์ กนฺตวีโร. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง 5 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระมหาประกาศิต สิริเมโธ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียงของชุมชนบ้านคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
สราวุธ เปรุนาวิน และคณะ. (2558). การมีส่วนร่วมจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่บางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 9(2): 44-55.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2560). การปฏิรูปประเทศและการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
สำนักงานจังหวัดสระแก้ว. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดสระแก้ว (พ.ศ.2561 – 2564). สระแก้ว: สำนักงานจังหวัดสระแก้ว.
สุภาชนก เหล็กกล้า และปราโมทย์ ประจนปัจจนึก. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 39(2): 109-119.
อนันต์ อนันตกูล. (2551). การคลังท้องถิ่นและการกระจายอำนาจการคลังในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cohen, J. M. & Uphoff, N. (1980). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation. New York: Cornell University.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์