การสร้างและสื่อสารกิจกรรมการท่องเที่ยวการแสดงพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน

ผู้แต่ง

  • เมธาวี จำเนียร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • กรกฎ จำเนียร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ศศิพัชร บุญขวัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ทองพูล มุขรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ยงยุทธ ปาณะศรี วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
  • วรรณา เทพณรงค์ ปราชญ์ชุมชน

คำสำคัญ:

กิจกรรมการท่องเที่ยว, การแสดงพื้นบ้าน, การท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

          การท่องเที่ยวนับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว ที่ประกอบด้วย สินค้าการท่องเที่ยว ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย กิจกรรมการท่องเที่ยว ที่น่าสนใจและดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้ และบริการการท่องเที่ยวที่สามารถอำนวย ความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ในส่วนของกิจกรรมการท่องเที่ยว ชุมชนสามารถยกระดับการแสดงพื้นบ้านเพื่อพัฒนาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวได้ บทความวิชาการชิ้นนี้ จึงต้องการแสดงให้เห็นวิธีการในการนำการแสดงพื้นบ้านมาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว และแนวทางการสื่อสารกิจกรรมการท่องเที่ยวการแสดงพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยการใช้กรณีศึกษาของการแสดงพื้นบ้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการรำโทนนกพิทิด ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบัน การแสดงพื้นบ้านมีลักษณะให้ผู้ชมชมและผู้ชมสามารถร่วมร้องและรำได้ หากมีการใช้สื่อในการเผยแพร่ในช่องทางที่เหมาะสม รวมถึงการสื่อความหมายที่ถูกต้อง น่าสนใจ มีเรื่องราวความเป็นมา สามารถเร้าความสนใจของนักท่องเที่ยว และการแสดงพื้นบ้านเหล่านั้น ก็จะกลายเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวที่สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2561. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.mots.go.th/more_ news.php?cid=502&filename=index

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). เรื่องสื่อสาร-การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ธนกฤต ภัทร์ธราธร. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

บุษราภรณ์ พวงปัญญา สัญญา เคณาภูมิ ยุภาพร ยุภาศ. (2559). แนวทางการจัดการเพื่อยกระดับสินค้าทางวัฒนธรรม. วารสารใบลาน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 1(1): 80-101.

ประมาณ เทพสงเคราะห์. (2561). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

ศรัญยา วรากุลวิทย์. (2558). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: แวววาว พริ้นติ้ง.

สมิหลาไทม์ส. (2560). มรภ.สงขลา ดึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นทำวิจัย ‘จิตภาพโนราคลองแดน’ ถ่ายทอดท่ารำสู่ นร.ราชประชานุเคราะห์ 11 แสดงตลาดริมน้ำฯ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.samilatimes.co.th/?p=22987 (2562, 10 มิถุนายน)

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2561). สุจิตต์ วงษ์เทศ : อีแซว เมืองสุพรรณ เครือญาติวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_812125 (2562, 9 ธันวาคม)

สุชาดา ธโนภานุวัฒน์. (2560). รายงานวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

อริสรา เสยานนท์. (2560). การประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).

อาจารี รุ่งเจริญ. (2557). การใช้เอกลักษณ์จากศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 16(1): 47-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019