การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน, ครูปฐมวัยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของครูปฐมวัย และ 2) พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยจากการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 20 คน การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ขั้นตอนที่ 3 การนำกระบวนการไปใช้ปฏิบัติการกับครูปฐมวัย ในสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ ปรับปรุงและประเมินผลกระบวนการ และขั้นตอนที่ 5 การสรุปและนำเสนอผลการพัฒนา
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูปฐมวัยที่เกิดจากการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน มีลักษณะ ที่สำคัญ คือ 1) ความเป็นกัลยาณมิตร 2) การมีเป้าหมายร่วมกัน 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 4) การรวมพลัง
2. ผลการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ครูเกิดการพัฒนาตนเองที่สะท้อนการพัฒนาสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ในประเด็นหลักของการจัดการเรียนรู้ คือ 1) การวางแผนและออกแบบการจัด การเรียนรู้ 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) การประเมินผลการเรียนรู้
References
ชาริณี ตรีวรัญญู. (2550). การพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาผ่านบทเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 10(1): 34-41.
นันทกา วารินิน. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสาหรับโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาแพงเพชร เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 7(2): 1-13.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2547). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพรรณ พรสีมา. (2546). รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน: ตัวอย่างประสบการณ์ที่คัดสรรโรงเรียนในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: วีทีซีคอมมิวนิเคชั่น.
Annenberg Institute for School Reform. (2013). Professional Learning Communities: Professional Development Strategies That Improve Instruction. [Online]. Available : http://www. annenberginstitute.org/pdf/ proflearning.pdf. (2013, 2 May).
Brookfield, S. D., & Brookfield, S. (1995). Becoming a critically reflective teacher. San Francisco: Jossey-Bass.
Darling-Hammond, L. (1999). Teacher quality and student achievement: A review of state policy evidence. Seattle, WA: Center for the Study of Teaching and Policy, University of Washington.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์