การขยายตัวของผู้รับจ้างทำงานวิจัยของบัณฑิตศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธเนศพล พงษ์พานิชย์ หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิ

คำสำคัญ:

ผู้รับจ้าง, ทำงานวิจัย, บัณฑิตศึกษา, การขยายตัวของผู้รับจ้าง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้รับจ้างทำงานวิจัย  2) ศึกษาปัญหาในการขยายตัวของผู้รับจ้างทำงานวิจัย และ 3) ศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขการขยายตัวของผู้รับจ้างทำงานวิจัย ผู้ให้ข้อมูลหลักที่ทำการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย  ผู้รับจ้างทำงานวิจัย และบัณฑิตผู้จ้างทำงานวิจัย วิทยานิพนธ์ โดยเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง เนื่องจากผู้วิจัยมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาในการศึกษาจึงใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง หรือ  การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ ลักษณะของการสัมภาษณ์เป็นการสัมภาษณ์ที่มีคำถามและข้อกำหนดแน่นอนตายตัว โดยใช้คำถามเดียวกัน ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ วารสาร  สิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานการประชุม คู่มือการปฏิบัติงาน  ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง เอกสารทางราชการ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการและแนวทางในการนำแผนพัฒนา 3 ปีไปปฏิบัติ เป็นต้น และการวิจัยสนาม รวบรวมด้วยการสัมภาษณ์โดยการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้รับจ้างทำงานวิจัยส่วนใหญ่ การรับจ้างทำงานวิจัย และวิทยานิพนธ์มีมากขึ้นจริงดังสมมุติฐานของการศึกษาครั้งนี้ กล่าวคือ ปัจจุบันมีการรับจ้างมากขึ้น พบเห็นง่ายทางออนไลน์ บางท่านมีประสบการณ์ทำมาหลายปีมาก มีทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย ผู้รับจ้างส่วนใหญ่จบปริญญาโทที่มีประสบการณ์ทำวิทยานิพนธ์เองสมัยเรียน คิดว่ามันไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้คนอื่น
ก็มารับจ้างทำให้รุ่นน้องหรือว่าเพื่อน แต่มีการแนะนำกันต่อไปเรื่อยๆ นักศึกษาส่วนใหญ่เวลามาจ้างทำ เขาก็จะบอกว่าไม่มีเวลาเป็นส่วนใหญ่ เพราะนักศึกษาที่เรียนระดับปริญญาโท จะทำงานไปด้วย จะไม่มีเวลามาค้นคว้า หาข้อมูลต่างๆ เพราะยุ่งกับงาน มันเลยดูเป็นเรื่องปกติ ที่จะมีผู้สั่งจ้างมากขึ้น
กับผู้รับจ้างมากขึ้น และการขยายตัวของการรับจ้างทำงานวิจัยส่งผลต่อระบบการศึกษา ของไทยมาก ซึ่งปัญหานี้ที่นักศึกษาจ้างทำงานวิจัยหรือคัดลอกข้อมูลงานวิจัย มาเป็นผลงานของตนเอง ยังคงมีถึงแม้สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะมีความพยายาม เอาผิดผู้รับจ้าง และผู้ว่าจ้าง แต่ยังคงมีการเปิดธุรกิจรับจ้างทำงานวิจัยให้เห็นในสังคมออนไลน์  อย่างชัดเจน ในการรับทำงานวิจัยและรับทำวิทยานิพนธ์ พร้อมการันตีคุณสมบัติ รายละเอียดของ  ทีมวิจัย รวมถึงเบอร์ติดต่อ และค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ในแต่ละเล่ม ซึ่งถือว่าเปิดรับงานเป็นธุรกิจอย่างชัดเจนและเปิดเผย ซึ่งมีผลกระทบต่อการศึกษา

           ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มี ผู้เกี่ยวข้องผลักดัน พระราชบัญญัติทำผิดทางวิชาการ รวมถึงเสนอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาตรวจสอบรับเป็นคดีพิเศษ แต่ยังไม่มีความคืบหน้า ขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ลงนามร่วมกับ 17 สถานบันการศึกษา ใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม และงานเขียนวิทยานิพนธ์ เพื่อให้บัณฑิตมีคุณภาพ เพราะถือเป็นการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา  โดยทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชื่อมั่นว่า หากสามารถทำได้ภายใน 3 ปี จะไร้ปัญหาคัดลอกข้อมูลวิทยานิพนธ์และส่งผลให้ธุรกิจรับจ้างทำวิทยานิพนธ์หมดไปด้วย ดังนั้นสิ่งที่ทำร่วมกันได้ ของแต่ละสถาบันการศึกษา คือการ “สร้างจิตสำนึกทางการศึกษา” ให้เกิดแก่นิสิตนักศึกษาทุกคน ให้ตระหนักถึงคุณค่าของการเรียนรู้ และการผลิตผลงานด้วยความรู้ความสามารถของตนเอง ในปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่โลกดิจิตอล และรัฐบาลได้กำหนดโมเดล Thailand 4.0 โดยมีวิสัยทัศน์การพัฒนาของประเทศไทย ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง  ยั่งยืน” และเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศ นั้น สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการผลิตคนที่มีคุณภาพออกมาสู่สังคม  เพราะแต่ละสถาบันต่างก็มีความมุ่งมั่นและมุ่งหวังที่จะผลิตนิสิตหรือนักศึกษาที่จบจากสถาบัน  ของตนเองเป็นผู้มีความรู้และความสามารถ มีการดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม มีความภาคภูมิใจและสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่สถาบันนั้น ๆ สืบต่อไป ด้วยเหตุนี้ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญในการปรับปรุงหลักสูตร คิดค้นและวางแผนระบบการศึกษาใหม่ๆ ให้แก่นิสิตหรือนักศึกษาในสถาบันให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยตัวของนิสิตหรือนักศึกษา และจะต้องคิดแก้ไข ควบคุมวงการรับจ้างทำงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ได้แพร่ขยายสู่วงกว้างและยิ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มนักศึกษามากขึ้นเรื่อย ๆ ทางด้านมหาวิทยาลัยเองต้องทำการเข้มงวด อาจารย์ที่ปรึกษาในการตรวจงานบัณฑิตนักศึกษา และเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดเพื่อให้เกรงกลัว และสร้างจิตสำนึกทางการศึกษา ให้เกิดแก่บัณฑิตนักศึกษาทุกคน เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าของการเรียนรู้ และการผลิตผลงานด้วยความรู้ความสามารถของตนเอง

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2558). ‘ดาว์พงษ์’ สกัด นักศึกษาจ้างทำวิทยานิพนธ์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/662412=news_research0 (2561, 21 มิถุนายน).

ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อจรรยาบรรณนักวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุรพงษ์ แสงเรณู, บุญทัน ดอกไธสง และสุวรรณิน คณานุวัฒน์. (2559). ผลกระทบการทุจริตประพฤติมิชอบในการบริงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 16(2): 45-57. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78797/63098

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2019