ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • นาตยา ดวงประทุม สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เฟื่องฟ้า รัตนาคณหุตานนท์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 2  และ 2) พฤติกรรมการดูแลตนเองในกลุ่มตัวอย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มตัวอย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 80 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ที่เกี่ยวกับการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง การสนับสนุนจากครอบครัว และพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติไคสแควร์  ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.074, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.495) และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าน้ำหนัก ความรู้ที่เกี่ยวกับการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง และการสนับสนุนจากครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (p<0.05)

References

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3), 256-266.

ดวงหทัย แสงสว่าง, อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และนิลาวรรณ งามขำ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มตัวอย่างโรคโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 8(1), 103-117.

ทักษพล ธรรมรังสี. (2557). รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม. นนทบุรี: สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (International Health policy Program).

นูร์มา แวบือซา. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สภาวะกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ลักษณา พงษ์ภุมมา และศุภรา หิมานันโต. (2560). ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง. วารสาร มฉก.วิชาการ. 20(40), 67-75.

วรรณรา ชื่นวัฒนา และณิชานาฏ สอนภักดี. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นางอา อำเภอบางใหญ่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 6(3), 163-170.

สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3(1), 110-128.

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย (2550). การระบาดของโรคเบาหวานและผลกระทบที่มีต่อ ประเทศไทย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.dmthai.org/. (2561, 10 ตุลาคม)

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.

สุภัทรา แพเสือ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนเขตเมือง. สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Best, J. (1981). Research in Education. (4th ed.). London: Prentice-Hall International.

Bloom, B. S. (1986). Learning for Mastery. Evaluation comment. Center for the Study of Instruction Program. University of California at Los Angeles.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Maysaa Khattab, Yousef Khader, Abdelkarim Al-Lhawaldeh & Kamel Ajlouni. (2010).

Factors associated with poor glycemic control among patients with Type 2 diabetes. Journal of Diabetes and Its Complications. 24(1), 84-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2019