การสร้างนวัตกรรมจากแดจังกึมในบริบทประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณทิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชุติมน แฝงพงษ์ หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณทิต สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

แดจังกึม, นวัตกรรม, เกาหลีใต้

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสร้างนวัตกรรมซีรีส์แดจังกึมของ ประเทศเกาหลีจนเกิดความนิยมในต่างประเทศ และ 2) ศึกษาการสร้างนวัตกรรมจากซีรีส์แดจังกึม ของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการวิจัยเชิงเอกสารจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ เอกสาร หนังสือ บทความ บทสัมภาษณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการศึกษาพบว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ จึงทำการวิจัย และวางแผนอย่างดีเพื่อผลิตซีรีส์แดจังกึมจนได้รับความนิยม เมื่อมีการเผยแพร่เป็นนวัตกรรมมายังประเทศไทยผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซีรีส์แดจังกึมได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทยจนนำไปสู่การเกิดแรงบันดาลใจต่อค่ายภาพยนตร์ GTH รายการวาไรตี้ ธุรกิจร้านอาหาร ทัวร์ตาม
รอยซีรีส์ รวมถึงบริษัทเขียนการ์ตูนในการสร้างนวัตกรรมจากซีรีส์แดจังกึม

References

กวนมึนโฮ. (2554). กวนมึนโฮกวนแบบหนังไทยในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://oknation.nationtv.tv/blog/NN1234/2011/03/06/entry-1. (1 ตุลาคม 2560).

ดุริยางค์ คมขำ. (2553). การผลิต การเผยแพร่และการบริโภคละซีรี่ส์เกาหลี กรณีศึกษา: เรื่อง แดจังกึมและเจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา. วิทยานิพนธ์วารสารสาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปริณดา เริงศักดิ์. (ม.ป.ป). การถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านละครเกาหลีอิงประวัติศาสตร์แดจังกึม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นลินทิพย์ ภัคศรีกุลกำธร. (2546). กระแส Hallyu. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://positioningmag.com/8345. (27 กันยายน 2560).

พรนภัส ชำนาญค้า. (2561). เรทติ้งแดจังกึม ในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/dae-jang-geum-is-watching. (12 ธันวาคม 2561).

เพียรใจ ใจไว. (2557). การรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคตามกระแสเกาหลีนิยมของประชาชนในเขตเทศบาลนครลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.

วไลลักษณ์ น้อยพยัคฆ์. (ม.ป.ป.). กระแสเกาหลี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.etatjournal.com/upload/239/3_Korean_Wave.pdf. (27 กันยายน 2560).

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์. (2557). เมื่อแดจังกึมและโอชินสร้างชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sarakadee.com/blog/oneton/?p=1622. (27 กันยายน 2560).

อลิสา วิทวัสกุล. (2549). การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีผ่านละครโทรทัศน์แดจังกึมจอมนางแห่งวังหลวง. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Joker Variety. (2559). ตอนแดจังกึม. [รายการโทรทัศน์]. กรุงเทพฯ: สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 HD.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2019