ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • รัชนี สิงหราชัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ต

คำสำคัญ:

ความผูกพัน, วิทยุชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพร 2) ศึกษาระดับความคาดหวังของผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพร 3) ศึกษาระดับการรับรู้ของผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพร 4) ศึกษาระดับความผูกพันของผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพร และ 5) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพรจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ฟังวิทยุชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  มีอายุ 21-30 ปี มีสถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 15,000 บาท และมีอาชีพเกษตรกรรม 2) ความคาดหวังของผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผู้ดำเนินรายการ อยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านวิธีการนำเสนอรายการ ด้านรูปแบบรายการ และด้านเนื้อหาสาระ ตามลำดับ 3) การรับรู้ของผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผู้ดำเนินรายการ อยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านรูปแบบรายการ และด้านวิธีการนำเสนอรายการ ตามลำดับ 4) ความผูกพันของผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความมั่นใจ อยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านความภาคภูมิใจ  ด้านความซื่อสัตย์และความจริงใจ และด้านความหลงใหล ตามลำดับ และ 5) ปัจจัยการรับรู้ด้านเนื้อหาสาระ มีผลต่อความผูกพันของผู้ฟังวิทยุชุมชนในจังหวัดชุมพร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนระดับการศึกษา อาชีพ การรับรู้ด้านรูปแบบรายการ และการรับรู้ด้านผู้ดำเนินรายการ มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกพร เอกกะสินสกุล. (2554). ความคาดหวังของผู้ฟังต่อบทบาทของวิทยุชุมชนในจังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กฤตยา พงษ์ศรัทธาสิน. (2558). ความผูกพันของผู้บริโภคการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมผู้บริโภคในเขตภาษีเจริญ. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยสยาม.

กาญจนา แก้วเทพ. (2556). คู่มือวิทยุชุมชน (FNS). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณฤทธิ์ พรับจุ้ย. (2555). ความคาดหวังของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์ของสถานีวิทยุแม็กซ์ 94.5 ในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานโครงการเฉพาะบุคคลวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธัญชนก สีหาพล. (2553). พฤติกรรมการรับฟัง ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ฟังรายการวิทยุด้านการเกษตร: กรณีศึกษาสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เชียงใหม่) AM 612 KHz และสถานีวิทยุเสียงจากแม่โจ้ FM 95.5 MHz. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ และคณะ. (2549). เทคโนโลยี RFID. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้ากรุ๊ป.

พัชราพร ณ ลำพูน. (2554). การรับรู้ข่าวสารรายการวิทยุเช้านี้ที่เชียงใหม่ของผู้ฟังในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พัชราภรณ์ สุวลัย. (2553). บทบาทสื่อวิทยุกระจายเสียงของรัฐกับการรับรู้ข่าวสารภาครัฐของประชาชนจังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์ และสุทิติ ขัตติยะ. (2553). พฤติกรรมการรับฟังและความพึงพอใจต่อรายการและเทคนิคของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 29(1), 132-142.

สารเดช ศุกรสุคนธ์. (2556). ความคาดหวัง การเปิดรับ และความพึงพอใจต่อรายการเปิดปมสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2559). รายการผลการดำเนินงานประจำปี 2559 ของ กสทช. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://broadcast.nbtc.go.th/radio/. (2561, 16 สิงหาคม).

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2562 รอบ 6 เดือน ของ กสทช. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.nbtc.go.th/ITA/.aspx (2562, 2 ธันวาคม).

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จังหวัดชุมพร. (2561). สถานีวิทยุในจังหวัดชุมพร. ชุมพร: สำนักงาน.

สุพจน์ สกุลธรรม. (2552). ความพึงพอใจของผู้ฟังต่อการเปิดรับรายการวิทยุชุมชนเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อเนก พุฒเล็ก. (2557). ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: Experimental Designs

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019