แนวทางการเพิ่มมูลค่าข้าวของเกษตรกร ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • รัชฎาภรณ์ พัฒนะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การเพิ่มมูลค่า, ผลิตภัณฑ์ข้าว, บ้านกร่าง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าข้าวของเกษตรกร ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสอบถามความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าจากกลุ่มตัวอย่างชาวนาในตำบลบ้านกร่างด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 41 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จำนวน 5 แบบ เพื่อสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภค จากการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้อง ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญจากผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 100 คน ขั้นตอนที่ 3 การกำหนด แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากการประชุมเสวนาของ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง ตัวแทนเกษตรกร และนักวิชาการ ด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน
          ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีความต้องการพัฒนาข้าวกล้องพร้อมบรรจุภัณฑ์ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.66 ความพึงพอใจจากการทดลองพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในระดับมากมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ แบบที่ 3 ค่าเฉลี่ย 4.3 และแบบที่ 5 ค่าเฉลี่ย 3.99 และพบว่าตัวแทนเกษตรกรมีความตื่นตัวและภาคภูมิใจที่เห็นผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องพร้อมบรรจุภัณฑ์ ในชื่อ ตราสินค้า “ข้าวกล้องบ้านกร่าง” ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง เห็นด้วยกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวของเกษตรกรด้วยการผลิตข้าวกล้องอินทรีย์พร้อมบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งสนับสนุนและประสานงานให้เกิดกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ด้วยเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ช่วยเหลือ ด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางอื่น ๆ ส่วนนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามให้การสนับสนุนในการส่งเสริมการขายผ่านตลาดออนไลน์

References

กิตติพงษ์ ตระกูลโชคอำนวย. (2560). นวัตกรรมการผลิตข้าวการแปรรูปข้าวและการค้าข้าวในประเทศไทย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/ (2561, 30 พฤษภาคม).

ข้าวดี. (2562). ข้าวมงคล. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://ricedee.com/ (2562, 20 มิถุนายน)

จรินทร์ เทศวานิช. (2550). เศรษฐศาสตร์การจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์ แปลจาก Robin Bade, Michael Parkin. (2550). เศรษฐศาสตร์จุลภาค ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ฉัฐยา ตวงสุวรรณ. (2553). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมข้าวไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นนทกานต์ จันทร์อ่อน. (2557). ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://library.senate.go.th/document/Ext7091/7091777_0002.PDF (2560, 5 เมษายน).

สมัย คำลือชา. (2553). การผลิตข้าวกล้อง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1169&s=tblareablog (2562, 25 ตุลาคม).

สำนักงานคลังจังหวัดพิษณุโลก. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดพิษณุโลก ประจำเดือนมกราคม. 60(1): 6. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://joo.gl/adiEn (2561, 30 พฤษภาคม).

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร. (2560). ร่างยุทธศาสตร์การวิจัย และพัฒนาการผลิตพืชเชิงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ปี 2557-2559. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. องค์ความรู้เรื่องข้าว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=16-1.htm (2561, 30 พฤษภาคม).

วิระเดช นารินทร์ และเพ็ญณี แนรอท. (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรกร: กรณีศึกษาเครือข่ายเกษตรยั่งยืน ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง. (2560). ข้อมูลพื้นที่ตำบลบ้านกร่าง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://bankrang.go.th/ (2560, 30 มีนาคม).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2020