แนวทางการขับเคลื่อนกลไกประชารัฐในการจัดการอัคคีภัย ของจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การขับเคลื่อนกลไกประชารัฐ, การจัดการอัคคีภัย, จังหวัดนนทบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พรรณนาการจัดการอัคคีภัยตามแนวทางกลไกประชารัฐของจังหวัดนนทบุรี 2) ระบุปัญหาและอุปสรรคในการจัดการอัคคีภัย และ 3) สร้างแนวทางในการขับเคลื่อนกลไกประชารัฐในการจัดการอัคคีภัย วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบกรณีศึกษา โดยศึกษาจากเอกสารหลักฐาน การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 27 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิจัย พบว่า (1) การจัดการอัคคีภัยเป็นไปตามแนวทางกลไกประชารัฐ ประกอบด้วย ด้านการวางแผน มีการจัดทำแผนแม่บทป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดนนทบุรี และส่งมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปจัดทำเป็นแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการนำแผนไปปฏิบัติ มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือในการป้องกันและระงับอัคคีภัยและฝึกอบรมให้กับชุมชนและมีหน่วยงานต่าง ๆ ให้การสนับสนุนเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้น ด้านการตรวจสอบ มีการจัดตั้งคณะทำงานและมีหน่วยงานกลางตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และด้านการปรับปรุงการปฏิบัติให้มีความเหมาะสม มีการทบทวนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงรูปแบบการประชาสัมพันธ์ให้มีความสอดคล้องกับลักษณะ ของปัญหา (2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการอัคคีภัยที่สำคัญส่วนหนึ่ง คือ ปัญหาด้านการเข้าถึงพื้นที่ มีข้อจำกัดด้านจราจรบนท้องถนนและความหนาแน่นของการจราจร ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าระงับเหตุ และไม่มีการบำรุงรักษาอุปกรณ์เหล่านั้น และปัญหาการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชน และ (3) แนวทางในการขับเคลื่อนกลไกประชารัฐในการจัดการอัคคีภัยของจังหวัดนนทบุรีที่สำคัญ คือ การสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ควรบูรณาการหน่วยงานภาครัฐในการจัดหาอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกิจกรรมด้านการป้องกันและบรรเทาอัคคีภัย
References
กองวิชาการและแผนงาน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพฯ. (2560). การประเมินความเสี่ยงอัคคีภัยในชุมชน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokfire.com›images›bfrd13›risk›risk2018 (2562, 14 เมษายน).
ชมภูนุช หุ่นนาค. (2560). การจัดการภาครัฐแนวใหม่: การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างผลิตภาพสูงสุด. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 7(3), 125-139.
ณัฐชยา อุ่นทองดี. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศจากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑติพัฒนบริหารศาสตร์.
ทวิดา กมลเวชช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.
ไททัศน์ มาลา, สุนทรชัย ชอบยศ และพิศาล พรหมพิทักษ์กุล. (2557). แนวทางในการจัดการอุทกภัย กรณีศึกษา เทศบาลนครนนทบุรี . วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 12(2): 77-105.
ภูวณัฐ กมลศุภประยูร. (2551). แนวทางการจัดระบบป้องกันอัคคีภัยสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารประเภทน้ำสลัดและไส้ขนม. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
พิชญะ จันทรานุวัฒน์. (2559). รายงานการดำเนินงาน โครงการ “บ้านเวียงป่าเป้า...ปลอดภัย จากอัคคีภัย”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.coe.or.th>coe-2>Newpic. (2562, 10 เมษายน).
ศิรินันต์ สุวรรณโมลี. (2552). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยชุมชนเป็นฐานจากภาคประชาสังคม: กรณีศึกษาชุมชนบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ.
สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. (2560). บรรยายสรุปข้อมูลจังหวัดนนทบุรี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.nonburioffice@gmail.com.pdf. (2562, 5 เมษายน).
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน. (2558). Safety
Thailand Safety Together. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.tosh.or.th2index.
php/tosh-news/project/21-safety-thailand., ( 2562, 1 พฤษภาคม).
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2556). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2555 ข้อ 4. (9 มกราคม 2556).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 130 ตอนที่ 2 ก หน้า 24 - 34.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนนทบุรี. (2561). รายงานสถานการณ์ ทางสังคมของจังหวัดนนทบุรี. กลุ่มนโยบายและวิชาการ สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนนทบุรี เอกสารทางวิชาการ ลำดับที่ 1/2561.
CRED. & UNISDR. (2018). Natural Disasters 2017. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://relief-web.int/report/world/natural-disasters-2017. (2019, 24 April).
Emmanuel K. Addai, Samuel K. Tulashie, Joe-Steve Annan & Isaac Yeboah. (2016). Trend of Fire Outbreaks in Ghana and Ways to Prevent These Incidents. Journal of Safety and Health at Work. 7(4): 284-292.
Menya, A. A. & K’Akumu, O.A. (2016). Interagency collaboration for fire disaster management in Nairobi City. Master of Urban Management Programme, School of the Built Environment, University of Nairobi, P.O. Box 30197GPO00100, Nairobi, Kenya. Journal of Urban Management. 5(1): 32-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์